Thursday, August 8, 2013

ความเป็นไปได้สำหรับการทำฟาร์มเลี้ยงกวางในประเทศไทย


   พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 อนุมัติให้การเพาะเลี้ยงกวางม้าหรือกวางไทยในเชิงการค้าเป็นธุรกิจที่ถูก ต้องตามกฎหมายโดยต้องมีการขออนุญาตและจดทะเบียนฟาร์มกับกรมป่าไม้ นอกจากนี้กวางยังได้รับการบรรจุเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริมการ เลี้ยงมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงกวางจึงได้รับความสนใจอย่างมากจากเกษตรกร เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าธุรกิจนี้น่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีและคุ้มค่ากว่า ปศุสัตว์ประเภทอื่น ๆ ซึ่งก็ทำให้ธุรกิจฟาร์มกวางขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจที่น่าสนใจในระยะสั้น ก็คือ ธุรกิจเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์และธุรกิจเพาะเลี้ยงลูกกวางและธุรกิจที่น่าสนใจในระยะอีก 5 - 6 ปีข้างหน้าก็คือ ตลาดเนื้อกวางในประเทศ ปัจจุบันฟาร์มกวางที่เพาะเลี้ยงในลักษณะการค้ามีประมาณ 5 ฟาร์ม ซึ่งเพาะเลี้ยงกวางไทย 200 - 300 ตัวคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้จำนวนฟาร์มกวางจะเพิ่มขึ้นอีก 10 ฟาร์ม โดยจะเลี้ยงกวางพันธุ์รูซ่า ซึ่งสหกรณ์ผู้เลี้ยงกวางแห่งประเทศไทยนำเข้าจากประเทศนิวคาลิโดเนีย 3,000 ตัว เพื่อจำหน่ายแก่สมาชิกสหกรณ์ ฯ โดยทยอยส่งเข้ามาครั้งละ 400 - 500 ตัวและจะครบตามจำนวนภายใน 3 ปี

สาเหตุที่ธุรกิจฟาร์มกวางได้รับความสนใจ เป็นอย่างมากแม้จะเป็น ธุรกิจใหม่สำหรับประเทศไทยเนื่องจากในต่างประเทศซึ่งมีภูมิประเทศและภูมิ อากาศใกล้เคียงกับไทย เช่น นิวคาลิโดเนีย สามารถประสบความสำเร็จอย่างมากในการดำเนินธุรกิจฟาร์มกวางตลาดรองรับ ผลิตภัณฑ์กวางยังเปิดกว้างทั้งตลาดในประเทศและตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทย นอกจากนี้จุดคุ้มทุนของธุรกิจฟาร์มกวางนี้ประมาณ 3 ปี

ตลาดรองรับผลิตภัณฑ์กวางในประเทศขณะนี้มีเพียงตลาดเขากวางอ่อน ซึ่งจำหน่ายอยู่ตามร้านขายยาจีนโบราณ แหล่งที่พบมากคือ เยาวราช รูปแบบที่ขายมีทั้งเขาอ่อนชนิดที่สกัดเป็นตัวยาแล้ว และเขากวางแห้งที่ยังไม่แปรสภาพ ราคาจำหน่ายประมาณ 20,000 - 30,000 บาท ซึ่งปัจจุบันพึ่งพิงการนำเข้าจากจีน มูลค่า 5 - 7 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นเมื่อมีการเลี้ยงกวางอย่างเป็นล่ำเป็นสันในประเทศไทยก็จะลดการพึ่งพิงนำเข้าเขากวางอ่อนได้



นอกจากนี้ในระยะ 5 - 6 ปีต่อไปตลาดผลิตภัณฑ์กวางประเภทอื่น ๆ ก็จะเกิดตามขึ้นมาด้วยโดยเฉพาะตลาดเนื้อกวาง ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคในตลาดต่างประเทศ ราคาจำหน่ายจะอยู่กิโลกรัมละ 300 - 500 บาท ซึ่งสหกรณ์ผู้เลี้ยงกวางแห่งประเทศไทย มีแผน ที่จะขยายตลาดเนื้อกวางในประเทศ โดยจะแยกชิ้นส่วนเนื้อบรรจุในแพคเก็จสำเร็จรูป ส่งจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ คาดว่าจะต้องมีการสร้างโรงฆ่าชำแหละกวาง ซึ่งคงจะต้องลงทุนประมาณ 14 ล้านบาท แม้ว่าปัจจุบันเนื้อกวางยังเป็นของหารับประทานยากในเมืองไทยเมื่อเทียบกับ เนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ นอกจากที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตย่านสุขุมวิท แต่ในปัจจุบันได้มีเริ่มมีการบุกเบิกตลาดเนื้อกวางในประเทศคือ บริษัท เวนิสัน (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนจะหาผู้ร่วมลงทุนเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศ เพื่อนำเข้าเนื้อกวางมาจำหน่าย

ตลาดที่น่าสนใจอีกตลาดหนึ่ง คือ ตลาดเอ็นกวาง ซึ่งปัจจุบันร้านอาหารและภัตตาคารใหญ่ ๆ นำเอ็นกวางไปประกอบอาหารประเภทตุ๋นเครื่องยาจีน ซึ่งราคาเอ็นกวางสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่น่าสนใจในระยะสั้นสำหรับการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกวางในประเทศไทย ก็คือธุรกิจเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และธุรกิจเพาะเลี้ยงลูกกวางเนื่องจากราคาพ่อแม่พันธุ์กวางไทยอยู่ในเกณฑ์สูง ซึ่งหายากในปัจจุบันมีราคาสูงถึง 40,000 - 50,000 บาท ต่อตัว ส่วนกวางรูซ่าที่นำเข้าราคาจำหน่าย 20,000 บาทต่อตัว

ดังนั้นผู้ที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจเพาะเลี้ยงกวางจะต้องลงทุนในด้านพันธุ์กวางสูงมาก แต่เมื่อคำนึงถึงผลตอบแทนในระยะยาวก็นับว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน ถ้าจะเปรียบรายได้ของธุรกิจฟาร์มกวางของนิวซีแลนด์
จะเห็นว่าเกษตรกรนิวซีแลนด์จะได้รับผลตอบแทนจากการทำธุรกิจฟาร์มกวาง 100 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อคำนวณแล้วน้ำหนักตัวประมาณ 40 กิโลกรัม เกษตรกรนิวซีแลนด์ได้รับผลตอบแทนทั้งหมดประมาณ 4,000 บาทต่อตัว และมื่อรวมผลตอบแทนจากการจำหน่ายเอ็น พังพืด หาง และอวัยวะภายในแล้ว กวางแต่ละตัวน่าจะจำหน่ายได้ 6,000 - 8,000 บาท นับว่าเป็นรายได้ที่น่าสนใจทีเดียว ซึ่งผลตอบแทนนี้ยังไม่รวมการจำหน่ายเขากวางอ่อน

แผนการตลาดของกวางในอนาคต พ.ศ.2541 

ฟาร์มเพาะเลี้ยงกวาง 40 ฟาร์ม
ปริมาณกวาง 3,000 ตัว พันธุ์กวางราคา 20,000 - 50,000 บาท/ตัว
ฆ่าขายเนื้อกก.ละ 600 บาท ราคาเนื้อกวางนำเข้า 2,000 บาท/กก.
เขากวางอ่อนสหกรณ์ 12,000 บาท/กก. ตลาดเยาวราช 20,000 - 30,000 บาท/กก.
อนาคตปี พ.ศ. 2551

ฟาร์มกวาง 500 ฟาร์ม
ปริมาณกวาง 50,000 - 100,000 ตัว ขายทำพ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์ ราคา 10,000 - 13,000 บาทต่อตัว
เข้าโรงเชือดขายเนื้อปีละ 10,000 ตัว ราคาขายเนื้อ 350 บาท/กก. ตลาดซูเปอร์มาเก็ต ห้องอาหารของโรงแรมใหญ่ ภัตตาคาร

เขากวางอ่อน อบแห้งส่งออกต่างประเทศ ตลาดเยาวราช สหกรณ์ บริษัทผู้ผลิตยา ราคาอบแห้ง 20,000 - 30,000 บาท/กก.

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำฟาร์มกวาง และฟาร์มกวางในประเทศไทย 

การตัดเขากวางอ่อน
    เขาของกวางซึ่งเรียกว่า ANTLERS จะมีลักษณะเฉพาะตัว เขาตันไม่มีปลอกหุ้มเหมือนโคกระบือ หลังจากที่เขาแก่หลุด เพราะเนื่องจากมีวงจรของเขาอ่อน ซึ่งในระยะนี้จะมีเซลล์เนื้อเยื่อมหัศจรรย์ดันจนเขาแก่หลุดไปเซลล์เนี้อเยื่อนี้ จะเจริญเพิ่มทวีจำนวนอย่างรวดเร็ว จนสามารถปิดรอยแผลของเขาเก่าที่หลุดไป เหมือน CAMBIUM ของเนื้อไม้ที่ปิดหุ้มรอยแผลของลำต้นเมื่อเซลล์เนื้อเยื่อ หุ้มปิดสนิทก็จะเริ่มเจริญขึ้นเป็นทรงเขาเริ่มแตกกิ่งคู่แรกประมาณ 1 - 2 เดือน กิ่งที่งอกออกมาเรียกว่ากิ่งรับเหมา หลังจากนั้นเขากวางจะเริ่มแตกเจริญต่อไป เริ่มแตกกิ่งปลายเขาเมื่อประมาณ 3 เดือน
ในช่วงนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าอัณฑะจะหดเข้าไปในช่องท้อง กวางจะระวังเขาอ่อนที่ขึ้นกับตัว จะไม่แสดงนิสัยดุดัน ก้าวร้าว กัดฟัน ใช้เขาทิ่มแทง ฝนเขา ขวิดและต่อสู้กันเองในฝูง แต่พอถึงในฤดูที่กวางเขาแก่ สัตว์ในฝูงมักจะมีรอยแผลเหวอะหวะไปทั้งตัว
การตัดเขากวาง จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดอันตรายจากการจัดการฝูงกวาง ไม่ให้ประสบปัญหาอีกทางหนึ่งได้ เขากวางที่ตัดออกสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ แทนที่จะปล่อยให้แก่ไปเป็นหินปูนอย่างเปล่าประโยชน์ และเป็นอันตรายต่อฝูงสัตว์ที่ทำการเลี้ยงขยายพันธุ์
การตัดเขากวางจะเริ่มตัดกันเมื่อ เขากิ่งสุดท้ายเริ่มแตกแยกออกมาจากกันยาวไม่เกิน 2 นิ้ว จากการสังเกตในระยะนี้เขากวางจะเจริญเติบโตรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณวันละ 1 - 2 ซม. หรือจะคำนวณจากการหลุดของเขาไม่เกิน 90 วัน การตัดเขากวางอ่อนเมื่อตัดครั้งแรกผ่านไป ซึ่งในระยะนี้เขากวางยังไม่แกจัดรอยแผลถูกดูแลรักษาไว้ให้อย่างดีด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง เขากวางจะงอกขึ้นมาใหม่เป็นครั้งที่ 2 และสามารถใช้ประโยชน์ได้เช่นเดิม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเขากวางอ่อน
1. เชือกมัดเขากวาง
2. เชือกมัดห้ามเลือดเส้นเล็ก ขนาด 0.5 มิลลิเมตร
3. สำลีซับเลือด
4. ยาดำ รักษาแผล
5. เหล็กล๊อกหัวกวาง
6. เลื่อยตัดกิ่งไม้ฟันละเอียด
7. ถุงพลาสติกขนาด 7" * 10"
8. เหล้าขาวดีกรีต่ำ (20 - 35 ดีกรี)
9. ถังแสตนเลสผสมเหล้ากับเลือดกวางให้เข้ากัน
10. ผ้าดิบสีขาวขนาด 6" * 6"
11. คนตัดเขาและผู้ช่วยอีก 4 คน
ขั้นตอนการตัดเขา
1. เวลาที่ตัดควรเป็นตอนเช้าตรู่ เพราะจะทำให้แรงดันของเลือดต่ำ และเลือดจะได้ไม่ออกมาก
2. จับกวางมัดโดยการใช้บ่วงบาศก์คล้องที่ขาหลังมัดให้กวางนอนลง มัดขาหน้าทั้ง 2 ข้างดึงไว้ คอกจับควรเป็นคอกขนาดเล็ก เพื่อลดทางวิ่งของกวางและสะดวกในการจับ
3. จับหัวกวางใส่ในเหล็กล๊อกหัวกวาง ใช้เชือกที่มีอยู่มัดติดกับเหล็กล๊อก ใช้เท้าเหยียบเหล็กล็อกคนละข้าง อีก 2 คน อยู่ที่ปลายเหล็กล๊อกคนละข้าง อีก 2 คน ดึงเชือกขาหน้าและขาหลังไว้ ใช้เชือกเล็กมัดห้ามเลือดที่โคนขาไว้ก่อนตัด
4. ใช้เลื่อยที่คมตัดเขาอ่อน ห่างจากโคนเขาประมาณ 2 - 3 นิ้ว ตัดให้ขาดออกมาและถ้าต้องการเลือดจากเขาก็ให้ใช้ถุงพลาสติกใส่เหล้ามารองเอาตอนนี้เลย
5. เมื่อตัดเขาออกมาแล้ว ให้ยกเขาให้รอยตัดขึ้นด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกมาจากช่องทางเดินของเส้นเลือด และเพื่อรักษาคุณภาพของเขากวางอ่อนให้มีคุณภาพสูงสุด
6. ใช้ยาดำโปะไปที่รอยแผลที่โคนเขา และเอาสำลีโปะทับไปอีกชั้น จากนั้นใช้ผ้าขาวที่เตรียมไว้ห่อแล้วใช้เชือกขนาด 0.5 มิลลิลิตรมัดติดโคนเขาเพื่อห้ามเลือดไว้ การมัดใช้เทคนิคเพื่อให้ดึงออกง่าย ๆ และเมื่อแผลหายแล้ว หรือเลือดหยุดไหล จะได้คลายเชือกออกจากการมัดได้สะดวก
7. เริ่มดำเนินการตัดอีกข้างหนึ่งเช่นเดียวกันดังกล่าวมาแล้ว
8. แก้มัดกวางแล้วปล่อยออกไป
9. ถ้าแผลแห้งแล้ว หรือเลือดหยุดไหล ให้ดึงเชือกที่มัดห้ามเลือดออก
10. นำเขากวางอ่อนไปแช่แข็ง เพื่อเตรียมส่งหรือดำเนินการอบด้ายความร้อนให้แห้ง เก็บไว้จำหน่ายต่อไป
11. ถ้าได้ปฏิบัติอย่างถูกวิธีดังกล่าว คุณสมบัติของยาดำจะรักษาแผลได้ดี ทำให้เซลล์เจริญของเนื้อเยื่อปิดรอยแผลสนิทอย่างรวดเร็วและเขากวางจะเจริญเติบโตอีกครั้ง สามารถตัดได้อีกครั้งก่อน 45 วัน ซึ่งเขาอ่อนที่งอกขึ้นครั้งที่สองนี้ จะมีขนาดเล็กกว่าครั้งแรกประมาณ 50 %
ข้อควรระวัง
1. การตัดเขากวางต้องห้ามเลือดให้หยุด ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เลือดจะไหลไม่หยุดและกวางจะตายได้
2. ผู้ตัดเขากวางต้องมีความชำนาญ และดำเนินการเป็นทีม ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการจับกวางมัดและการตัด เพื่อลดอันตรายการช็อกของกวางด้วย
3. ห้ามใช้ยาซึมหรือยาสลบ ที่จะไปมีผลกระทบต่อกระแสโลหิตของกวาง เพราะเขากวางอ่อนมีเส้นส่งมาเลี้ยงด้วย ยาจะติดไปกับเขากวางอ่อนอาจจะมีผลกระทบกับผู้บริโภค
4. ในการบังคับกวางด้วยซองบังคับหรืออุปกรณ์ที่ดัดแปลงนั้นก็สามารถทำได้ต้องระวังไว้เช่นกัน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งขั้นตอนก็จะประกอบด้วยการฉีดยาชาที่บริเวณโคนเขา และใช้ยางรัดให้แน่นก่อนใช้เลื่อยมือตัดเขาออก แล้วจึงใช้ยาเนกาซันโปะแผลและภายใน 4 - 10 ชั่วโมงแผลก็จะแห้งเป็นปกติได้ 

การอบเขากวาง กรรมวิธีดั้งเดิมจะตั้งกะทะคั่วทรายให้ร้อน นำเขาอ่อนลงคั่ว (คล้ายกับการคั่วเกาลัด) หรือหากจะไม่ทำให้แห้งทันที ก็จะใช้วิธีเก็บรักษาโดยนำไปแช่เย็น ในปัจจุบันวิธีนิยมคือ เอาผ้าพันเขากวางไว้เหนือเตา โดยใช้ไฟอ่อน ๆ รมเขากวางต้องคอยดูความแรงของไฟตลอดเวลาถ้าไฟแรงเกินไปเขาจะแตกและไหม้การอบ เขากวางต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญมาก บางครั้งถ้าใช้ไฟอ่อนเกินไปเขาก็จะเน่าเสียได้ หรือภายนอกแห้งแต่ภายในอาจไม่แห้ง เขากวางไหม้ ขายได้ราคาต่ำส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงม้ามาขอซื้อในราคาประมาณคู่ละ 2,000 บาท ทั้งนี้เพื่อนำไปบดผสมกับน้ำผึ้งให้ม้ากินเพื่อเพิ่มพละกำลังให้ม้า เมื่ออบแห้งแล้วก่อนหั่นจะใส่เหล้าหมักเอาไว้ก่อนเพื่อให้เขาอ่อนตัวแล้วจึง หั่นเขากวางเป็นชิ้นบาง ๆ ตลาดเขากวางที่เยาวราชขายกิโลกรัมละ 20,000 - 30,000 บาท โดยผู้ซื้อไม่สามารถเลือกส่วนกลางส่วนโคนหรือปลายได้ ผู้ขายจะหั่นคละกันไป

ผลิตภัณฑ์จากกวาง


1. เขาอ่อน
(คู่หนึ่งหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม)หาง เอ็นและตัวเดียวอันเดียวจะมีคุณสมบัติคล้ายโสม ถือเป็นยาโป๊ว ทำให้แข็งแรง อายุยืน ความจำดี และสุขภาพดี นำมาตากแห้งทำเครื่องยาจีน (ในนิวซีแลนด์ขายเป็นเขาสดแช่เย็น ราคาคู่ละ 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของเขา)ราคาเขาอ่อนสไลต์บาง ๆ เขาละ 20,000 - 30,000 บาท
2. เนื้อ สีแดงกว่าเนื้อโค เนื่องจากธาตุเหล็กมากกว่า(น้ำหนักเนื้อ 70 - 75 % ของน้ำหนักตัวมากกว่าโคขุน ซึ่งมีน้ำหนักเนื้อ 65 %)
3. กระดูกและส่วนอื่น ๆ ที่เหลือบดทำอาหารสัตว์
เมื่อมองการเลี้ยงกวางบ้านเราในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่ก็มักจะเลี้ยงเพื่อทำการขายพ่อแม่พันธุ์และลูกและตัดเขากวางกวางอ่อนขาย
เมื่อกวางตัวผู้อายุ 1 ปีเขาจะงอก 1 แท่งเรียกว่า เขาเทียนเมื่อเขาเทียนหลุดก็จะเริ่มมีเขาที่ 2 งอกออกมาในช่วงปีที่สอง เขานี้จะตัดขายได้ แต่เขาที่ได้จะเป็นเขาขนาดเล็ก ราคาเขาสดประมาณ 3,000 - 4,000 บาท เมื่อกวางอายุ 3 ปี เขาที่ตัดได้จะใหญ่ขึ้นราคาจำหน่ายสดประมาณ 5,000 - 6,000 บาท ราคาของเขากวางอ่อนจะสูงขึ้นตามอายุกวาง บางเขาอาจจะมีราคา 20,000 - 30,000 บาท
ปีหนึ่งจะตัดได้เพียงครั้งเดียว เมื่อกวางอายุได้ 20 - 25 ปี จะสามารถตัดเขาได้ประมาณ 20 ครั้ง แต่ถ้าจะเลี้ยงเอาเนื้อจะต้องส่งเข้าโรงเชือดอายุกวางไม่ควรเกิน 2 ปี ถ้าอายุมากกว่านี้เนื้อจะไม่นิ่ม
การสังเกตุอายุของเขากวางดูได้จาก "เม็ดมะระ" ซึ่งเป็นเม็ดตะปุ่มตะป่ำที่เขา ถ้ามีมากเกินไปแสดงว่าเขาค่อนข้างแก่และราคาตก ปัจจุบันได้มีการศึกษาและวิจัยสรรพคุณของเขากวางอ่อน มีการพัฒนาการนำมาใช้ประโยชน์ให้สะดวกกว่าสมัยโบราณเช่น การทำเป็นผงเขากวางอ่อนบรรจุแค็ปซูล
ผลการวิจัยพบว่าเขากวางอ่อนมีโปรสตาแกลนดินส์ (Prostaglandins) ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกายช่วยลดอาการบาดเจ็บ บวม ติดเชื้อและอาการปวดต่าง ๆ ได้ โดยขนาดรับประทาน รับประทานวันละ 1 แค็ปซูล เวลาเช้า ผงเขากวางอ่อนผลิตจากเขากวางที่กำลังงอกออกมาใหม่ ๆ มีส่วนประกอบของโปรตีนคลอเจน ซึ่งยอมรับกันว่ามีคุณสมบัติในการสมานแผลและบำรุงรักษาผิวจากการวิเคราะห์ ทางเคมีพบว่าผงเขากวางอ่อนจะประกอบด้วยสารอาหารและแร่ธาตุที่สำคัญดังนี้
- สารอินทรีย์ประมาณ 54 %
- โปรตีน 47 % ประกอบไปด้วยโปรตีนคลอลาเจนเป็นส่วนใหญ่และโปรตีนอื่น ๆ ได้แก่กลูตามิกแอซิค อะลานิน ไกลซีน โพรลีน ตลอดจนกรดอมิโน อื่น ๆ อีกหลายชนิด
- แร่ธาตุ 33 % ประกอบด้วย แกงกลิโอไซต์ สฟิงโคไมอีลิน และโปรสตาแกลนดินส์
- ความชื้น 12 % เถ้าถ่าน 34 % น้ำตาล 3 % และกรดอะมิวโคโพลีแซคคาไรค์น้อยกว่า 1 %
การแบ่งเกรดเขากวางขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่าง และความสมบูรณ์ของเขากวางโดยจะแบ่งเป็น 5 เกรด (ดูรายละเอียดในตาราง) ถ้าจะจำหน่ายเป็นเขากวางสดก็จะต้องใส่ถุงพลาสติกแช่เย็นไว้รอจำหน่าย ซึ่งผู้เลี้ยงกวางในนิวซีแลนด์จะจำหน่ายเฉพาะเขากวางสดเท่านั้น โดยผู้ซื้อซึ่งเป็นชาวเอเซียจะนำเขากวางไปอบเอง หลังจากอบแล้วจึงขนส่งขายต่างประเทศ
เขากวางอ่อนทำรายได้ให้แก่เกษตรประมาณกิโลกรัมละ 2,000 - 3,000 บาท


ตารางการจัดลำดับเกรดเขากวางของ CIRAD

เกรด ขนาดลำดับเกรด เส้นรอบวง ความยาว จำนวนกิ่งแขนง
พิเศษ A พิเศษ A
พิเศษ A2
  -
-
1
2
A A1 ยาว
A1 กลาง
A1 สั้น
A2 ยาว
A2 กลาง
A2 สั้น
18 ซม.ขึ้นไป
18 ซม. ขึ้นไป


16 ซม. ขึ้นไป
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1
1
1
2
2
2
B B1 ยาว
B1 กลาง
B1 สั้น
B2 ยาว
B2 กลาง
B2 สั้น




14 ซม. ขึ้นไป
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1
1
1
2
2
2
C C1 ยาว
C1 กลาง
C1 สั้น
C2 ยาว
C2 กลาง
C2 สั้น




13 ซม. ขึ้นไป
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1
1
1
2
2
2
D D1 ยาว
D1 สั้น
D2 ยาว
D2 สั้น



11 ซม. ขึ้นไป
มากกว่า 40 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1
1
2
2
E E ยาว
E สั้น
  มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1 หรือ 2
1 หรือ 2
Spiker
(เขาแรกของกวาง)
ใต้หวัน
SP1
SP2
TW1

TW2
TW3
TW4
ต่ำกว่า 11 ซม.
9 ซม. ขึ้นไป
ต่ำกว่า 9 ซม.
0.5 กก.
0.5 กก.
ต่ำกว่า 0.5 กก.
ต่ำกว่า 0.3 กก.
10-20 ซม.
10-25 ซม.
สูงสุด
25 ซม.
-
-
1
2
1 หรือ 2
1 หรือ 2


โรคที่สำคัญของกวาง
โรคกวางที่สำคัญที่มีผลเสียต่อทางเศรษฐกิจจากที่เคยบันทึกในประเทศที่เลี้ยงกวางเป็นฟาร์มขนาดใหญ่มี 2 โรคได้แก่


1. วัณโรคปอด
โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถติดต่อถึงคนได้ แพร่ระบาดไปถึงกวางตัวอื่น ๆ ได้ง่ายก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในนิวซีแลนด์ มาตรการควบคุม ก็คือ ทดสอบตรวจโรคกวางในฝูงเป็นประจำโดยทางรัฐจะสำรวจกำหนดเขตฟาร์มต่าง ๆ ในประเทศว่าเป็นเขตปลอดวัณโรคหรือไม่ หรือเขตที่มีวัณโรคในอัตราส่วนที่ต่ำ โดยรัฐออกใบรับรองแต่ละฟาร์ม โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีการระบาดบ่อยมากในฟาร์มเลี้ยงกวาง



2. โรคแท้งติดต่อ
ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคไม่รุนแรงถึงขั้นตาย แต่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ โรคนี้จะแพร่เชื้อเร็วมาก ฟาร์มกวางที่ได้มาตรฐาน จะมีการกำหนดโปรแกมการป้องกันรักษาโรคไว้ ซึ่งลักษณะการทำโปรแกรมขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มแต่ละฟาร์ม ถึงแม้ว่าจะเลี้ยงกวางในลักษณะปล่อยเลี้ยงในทุ่งกว้างก็จะมีการต้อนเข้าคอกกักเพื่อนำมาตรวจสอบ ตรวจโรคเพื่อที่จะรักษาได้ทันท่วงที
สำหรับในประเทศไทยนั้นเท่าที่ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงกันมายังไม่มีรายงานเรื่องโรค แต่ก็ไม่อาจจะชะล่าใจได้ควรทำความสะอาดคอกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กวางปลอดจากโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะกวางทุกตัวไม่ต้องทำวัคซีน



พอเข้าฤดูฝนก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อโรยบริเวณคอกและไม่ควรให้คนภายนอกเข้าไปในคอกเป็นอันขาด ที่สำคัญจะไม่ให้กวางเข้าไปใกล้แพะแกะหรือวัวเป็นอันขาดเพราะสัตว์พวกนี้คือพาหะนำโรค
ขอยกตัวอย่างกรณีฟาร์มแห่งหนึ่งเป็นฟาร์มที่อยู่ติดแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วมขังในฟาร์มแล้วเกิดพยาธิในเลือดชนิด TRYPANOSOMIA ซึ่งปกติจะเป็นในวัวแต่ติดต่อมาถึงกวางได้เพราะมีแมลงชนิดหนึ่งไปดูดเลือด วัวและมาดูดเลือดกวางต่อจึงนำเชื้อมาสู่กวางด้วย ทำให้กวางติดพยาธิและตายไป เมื่อผ่าศพดูจึงพบว่าเป็นพยาธิ ในเหตุการณ์ตอนนั้นมีการตายไป 2 ตัว


การผสมพันธุ์กวาง


     การผสมพันธุ์ของกวางจะมีความสัมพันธ์กับการงอกของเขา ในตัวผู้เมื่อเขากวางแข็งตัวเต็มที่เป็นเวลาที่กวางตัวผู้พร้อมผสมพันธุ์ ซึ่งจะมีอายุประมาณ 2 ปี ถ้าไม่ทำการตัดเขา ก็จะเริ่มขวิดกันเองหรือขวิดต้นไม้เมื่อไม่มีคู่ต่อสู้ ดังนั้นในการเลี้ยงกวางจึงต้องทำการตัดเขาออกเพื่อความปลอดภัยของกวางในฝูง
          ปกติอัตราส่วนของการให้เพศคุมฝูงแม่พันธุ์โดยเฉลี่ย กวางแดงประมาณ 1:15 กวางรูซ่าประมาณ 1:20  ฤดูการผสมพันธุ์ของกวางจะผันแปรไปตามภูมิประเทศ ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ส่วนในเขตอบอุ่นฤดูผสมพันธุ์จะสั้นลงประมาณ 1.5 - 2 เดือน เช่นทางภาคใต้ของประเทศไทย ฤดูผสมพันธุ์กวางรูซ่าจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจริญของเขาด้วยกวางที่ผสมติดมีระยะเวลาตั้งท้อง 8 เดือน 10 วัน ส่วนมากตกลูกเพียงตัวเดียว อัตราการเกิดลูกแฝดมีน้อยมาก
การเก็บข้อมูลการผสมพันธุ์เป็นเรื่องจำเป็น ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถคัดเลือกกวางเพื่อไว้เป็นพ่อ/แม่พันธุ์ต่อไปได้ หรือกวางตัวใดที่สมควรคัดทิ้ง ในด้านการจัดการเกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลการผสมพันธุ์นั้นคือวิธีการทำเบอร์ ซึ่งผู้เลี้ยงควรพิจารณาวิธีการที่เหมาะต่อสภาพของฟาร์มและทุนทรัพย์การให้ลูกในฟาร์มกวาง
ฟาร์มกวางที่ประสบผลสำเร็จควรมีการให้ลูกที่หย่านม แล้วเฉลี่ยทั้งฟาร์มร้อยละ 85 โดยเฉลี่ยของทั้งฟาร์ม ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับศักยภาพของกวางในธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะในการเลี้ยงปกติความสูญเสียที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ประมาณร้อยละ 10 โดยความสูญเสียนี้จะเริ่มนับตั้งแต่เวลาผสมติดแล้วไปจนถึงช่วงหย่านมส่วนอีก ร้อยละ 5 ของการสูญเสียนั้นน่าจะถือเป็นเรื่องของฝีมือกล่าวคือถ้าฟาร์มใดไม่ได้มีการ สูญเสียหรือสูญเสียในอัตราส่วนที่ต่ำก็ถือว่าเป็นกำไร


แต่ถ้าเกินร้อยละ 5 นี้ผู้เลี้ยงกวางควรจะลองไปดูในรายละเอียด โดยเริ่มตั้งแต่น้ำหนักของกวางสาว และแม่กวางว่าอยู่ในภาวะที่เหมาะสมหรือไม่เพาะจุดนี้จะเชื่อมโยงไปถึงความ สามารถในการผสมติดเป็นหลักดังกล่าว ในจุดต่อไปนั้นควรดูที่การตายหลังการคลอด ซึ่งส่วนมากมักเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอดไปจนถึงอายุ 1 สัปดาห์ และอีกจุดหนึ่งก็คือตั้งแต่อายุ 1 สัปดาห์ไปจนอายุหย่านมเลยทีเดียว
จากประสบการณ์ฟาร์มกวางในต่างประเทศนั้นส่วนใหญ่ การสูญเสียจะเกิดขึ้นจากช่วงแรกคลอดจนถึง 1 สัปดาห์ (neonatal) โดยถ้าหากน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 3 กก. นั้นโอกาสที่จะมีชีวิตรอดภายใน 48 ชั่วโมงนั้นนับว่าต่ำมากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกวางคลอดในช่วงฤดูร้อนก็แทบจะทำให้เปอร์เซ็นต์การ เลี้ยงรอดเท่ากับศูนย์
แต่หากลูกวางมีชีวิตรอดพ้นช่วง 2 - 3 สัปดาห์แรกไปได้แล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตรอดไปจนระยะหย่านมก็เป็นไปได้สูงมาก
จากการผ่าซากของลูกวางที่ตายระหว่างแรกคลอดจนถึง อายุ 2 - 3 สัปดาห์นั้น ส่วนใหญ่พบลักษณะของการได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือจะเรียกว่าอดอาหารเลยก็ว่า ได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสืบเนื่องมาจากการมีน้ำหนักแรกคลอดค่อนข้างต่ำ คือต่ำกว่า 3 กก. นั้นเองจึงทำให้มีอาหารสะสมไม่พอต่อการใช้ และควบคู่กันไปนั้นก็คือความอ่อนแอทำให้ไม่สามารถช่วยตัวเองในการหาดูดน้ำนม จากแม่ประกอบกับแม่กวางเองก็มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ทำน้ำหนักเมื่ออายุแรกผสมพันธุ์ไม่ถึง 30 กก. จึงเป็นสาเหตุร่วมกันทำให้ต้องสูญเสียลูกกวางไปในที่สุดได้โดยง่าย เมื่อลองพิจารณาสาเหตุทั้งหมดแล้วก็สามารถสรุปได้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่นั้นก็ เนื่องมาจากอาหารไม่เพียงพอ 


ในส่วนของกวางสาวนั้นจุดสำคัญ คือจะทำอย่างไรให้กวางสาวมีน้ำหนักสูงพอเมื่อถึงระยะผสมพันธุ์ (เมื่ออายุไม่เกิน 10 เดือน) หรือมีน้ำหนักถึง 30 กิโลกรัมภายในอายุไม่เกิน 16 เดือน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของน้ำหนักโตเต็มที่ ทั้งนี้เนื่องจากน้ำหนักของกวางสาวในระยะแรกผสมพันธุ์นั้นมีความสัมพันธุ์ ต่ออัตราการผสมติดค่อนข้างสูง กล่าวคือ ถ้ากวางสาวมีน้ำหนักตัวสูงกว่า 30 กิโลกรัม ก็จะผสมติดง่ายคลอดลูกเร็ว และให้ลูกที่มีสุขภาพแข็งแรงกว่ากวางสาวที่มีน้ำหนักตัวน้อย
สำหรับตัวผู้นั้นอาจกล่าวได้ว่ามีปัญหาน้อยกว่ากวาง ตัวเมียมาก ทั้งนี้เพราะตามธรรมชาติของมันนั้นในช่วงฤดูร้อนกวางตัวผู้จะพยายามกินอาหาร ให้มากเพื่อจะได้สะสมเป็นไขมัน สร้างความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นแก่ร่างกายเพื่อความพร้อมในฤดูผสมพันธุ์ (rut) กวางตัวผู้ที่มีอายุมากและน้ำหนักตัวมากแล้วนั้นจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่ากับ กวางตัวผู้ที่อายุได้เพียง 2 - 3 ปี ซึ่งเป็นอายุที่กำลังเริ่มผสมพันธุ์โดยอาจจะมีน้ำหนักลดลงถึง 15 กก. ในเวลาอันรวดเร็วได้ เหตุการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เจ้าของฟาร์มกวางควรทำนั่นก็คือการพยายามประคองไม่ให้กวาง สูญเสียน้ำหนักไปกว่านี้ ซึ่งนั้นก็หมายถึงว่าจะต้องพยายามให้กินอาหารให้มากและสมบูรณ์ที่สุดก่อนถึง ฤดูผสมพันธุ์ และเมื่อผ่านพ้นฤดูผสมพันธุ์ไปแล้วก็ต้องให้อาหารอย่างสมบูรณ์ที่สุดต่อไป ด้วยเช่นกัน
กวางตัวผู้นั้นหลังฤดูผสมพันธุ์จะกินเก่งเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว จึงขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มว่าจะเข้าใจความต้องการของกวางหรือไม่เท่านั้นเอง และในส่วนของการหย่านมนั้นควรหย่านมลูกกวางที่น้ำหนัก 15 - 18 กก. จะดีที่สุดและควรหย่านมก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ถ้าเป็นไปได้
อาหารแปลงหญ้าและน้ำสำหรับเลี้ยงกวาง
     ความสูญเสียของฟาร์มกวางอันเนื่องมาจากโรคนั้น ไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนัก อย่างไรก็ตามหากมีการทำฟาร์มกวางเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่าที่เห็น ๆ กันอยู่ทุกวันนี้และเมื่อสัตว์เข้ามาอยู่ด้วยกันจำนวนมาก ๆ และเป็นเวลาเนิ่นนานหลายชั่วอายุก็อาจมีความอ่อนแอปรากฎขึ้นทำให้เป็นโรค โน้นโรคนี้ต่อไปก็ได้ ความสูญเสียที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นที่นิวคาลิโดเนีย ออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์ ก็ตามนั้นมักมีสาเหตุมาจากการจัดการ เช่น การให้ลูกเพียง 50 % การตื่นตกใจวิ่งชนเสาหรือรั้วคอกคอหักตาย และลูกกวางอ่อนแอเพราะมีนมกินน้อยกว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเล็ก ๆ ของเหตุการณ์เหล่านี้ถ้าจะสืบสาวกันจริง ๆ แล้วก็จะเป็นเรื่องมาจากการให้อาหารกวางต่ำกว่าศักยภาพของตัวมันและการ จัดการที่ไม่เข้าใจอุปนิสัยใจคอของสัตว์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือขาดความเป็นสัตวบาลมากกว่าเหตุผลอื่นนั่นเอง




หากต้องการที่จะลดการสูญเสียดังกล่าว ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่การจัดหาพืชอาหารโดยควรเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกหญ้า หรือพืชอาหารสัตว์สำหรับตัดมาให้กวางกินทุกวันไว้ให้พร้อมด้วย ซึ่งตามปกติกวางต้องการกินหญ้าสดประมาณตัวละ 8 - 10 กก./วัน และพื้นที่ 1 ไร่ น่าจะผลิตหญ้าได้ประมาณ 4,000 - 5,000 กก. โดยเฉลี่ยทั้งนี้ต้องมาการให้น้ำให้ปุ๋ยบำรุงตามสมควรตลอดปี
ส่วนอาหารข้น นั้นขอแนะนำว่าไม่จำเป็น ยกเว้นในช่วงที่ร่างกายของกวางต้องการการฟื้นฟู เช่นช่วงหลังคลอด ช่วงหลังฤดูผสมพันธุ์ในกวางพ่อพันธุ์ เป็นต้น โดยอาหารข้นจะใช้อาหารโคนมซึ่งมีโปรตีน 12 - 15 % ก็ได้ และให้กินในอัตรา 1 - 1.5 กก./ตัว/วัน เป็นหลัก
สำหรับน้ำดื่ม น้ำควรเปลี่ยนถ่ายทำความสะอาดทุกวันจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้เพราะน้ำจะสะอาดไม่มีสิ่งสกปรกเจือปนอันเป็นบ่อเกิดของโรคพยาธิที่จะติดตามมา


 
สำหรับการเลี้ยงลูกกวางให้แข็งแรง ควรจะได้กินนมอย่างน้อยวันละ 150 กรัม อาจใช้นมแพะนำมาเลี้ยงลูกกวางที่ได้รับนมไม่เพียงพอ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในส่วนของนมผงลงไปได้มากทีเดียว แต่หากน้ำนมแพะไม่เพียงพอก็จะให้กินนมผงโดยผสมกับน้ำให้ลูกกวางกินประมาณ 3 - 4 เดือน
ในเล้าอนุบาลนี้เราควรจะเลี้ยงลูกกวางที่มีอายุไร่เลี่ยกันไว้รวมกันแยกออกมาต่างหากจากกวางโต ให้ลูกกวางอยู่ที่เล้าอนุบาลจนหย่านมเมื่ออายุประมาณ 7 - 8 เดือน ขณะนั้นกวางควรมีน้ำหนัก 15 - 18 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อยจึงให้เข้าร่วมฝูงกับกวางโต
อย่างไรก็ตามหลักของการคำนวณพืชอาหารสำหรับกวางมีดังนี้
ก. ลูกกวางอายุต่ำกว่า 6 เดือน ต้องการ 1.1 กก.สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
ข. กวางเพศผู้อายุ 18 เดือน ต้องการ 1.5 กก. สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
ค. กวางเพศผู้เต็มวัย ต้องการ 1.7 กก. สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
ง. กวางเพศเมียเต็มวัย ต้องการ 1.0 กก. สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
จ. แม่กวางเลี้ยงลูกอ่อน ต้องการ 1.4 กก. สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
โดยหญ้าและพืชอาหารสัตว์ทั่วไปมีสิ่งแห้ง 20 - 25 % ของน้ำหนักสด ส่วนชนิดของหญ้านั้น ฟาร์มกวางของสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนนั้น ได้กล่าวไว้ว่า กวางชอบกินหญ้าเกือบทุกชนิดที่ผลิตได้ในวิทยาเขต
สำหรับรายชื่อหญ้า และวัชพืชที่กวางกินได้จากการรวบรวมมีดังนี้


1. หนามกระสุน Hhaki weed 2. ถั่วลิสงนา Alyce cloiver 3. ผักขมหนาม Spiny amaranth
4. ครอบจักรวาล Hirtum 5. หญ้ารังนก Arm grass, millet 6. หญ้าปากควาย Growfoot grass
7. หญ้าขนเล็ก Para gass 8. หญ้าแพรก Bermuda grass 9. หญ้าแห้วหมู Purple nutsedge
10. หญ้าไม้กวาด 11. ไมยราบเลื้อย Senisitive vine 12. ไมยราบ Shrubby sensitive plant
13. หญ้าเนเปียร์ Napier grass 14. หญ้าใต้ใบ Piss weed 15. หญ้าละออง Little iron weed
16. หญ้านกเขา Little iron weed 17. กระเม็ง Yerba-de-tazo 18. ไมยราบไร้หนาม Sensitive plant
19. ไมยราบยักษ์ Sensitive plant 20. กระทึบยอด Sensitive sorrel 21. ฮามาต้า Hamata stylo
22. ใบต้นปีป 23. ใบต้นมะม่วง Mango tree 24. ใบต้นกระถิน Leucena leaf
25. ข้าวโพดฝักอ่อน Bady corn 26. เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน Bady corn Leaf 27. ผักบุ้ง Kangkong
28. หญ้าข้าวฝ่าง Columbus grass 29. ใบต้นขนุน Jack fruit

Design by surachai