ประวัติการเลี้ยงกวางในส่วนต่าง ๆ ของโลก
นิวซีแลนด์
เริ่มเลี้ยงกวางมาประมาณ
20 ปีแล้วแต่ทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมการเลี้ยงกวาง
สามารถทำรายได้เข้าออกประเทศหลายหมื่นล้านบาท
โดยเฉพาะการส่งออกเนื้อกวางไปจำหน่ายต่างประเทศ
ปัจจุบันพัฒนาการเลี้ยงครบวงจรจากที่เริ่มจากการเลี้ยงเพื่อตัดเขา
รัฐบาลให้การสนับสนุนทุกด้าน
ออกฎหมายรับรองการทำธุรกิจฟาร์มกวางมีการเตรียมมาตรการต่าง ๆ
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เลี้ยงกวาง
ไม่ว่าจะเป็นการตั้งฟาร์มตลอดจนการหาตลาด
รวมไปถึงการควบคุมดูแลคุณภาพของเนื้อกวางเพื่อการส่งออก
ลักษณะการเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นแบบปล่อยเลี้ยงเป็นฝูงใหญ่ในทุ่งหญ้าเนื้อที่
หลายพันไร่
และบริเวณรอบ ๆ ฟาร์มทำรั้วตาข่ายล้อมรอบ
โดยลวดตาข่ายจะมีความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ
เวลาที่กวางกระโดชนจะไม่บาดเจ็บ มีการจัดการฟาร์มที่ดีมาก
ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกสายพันธุ์กวาง
การผสมพันธุ์ กวางลูกผสมมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วและต้านโรคได้ดี
ปัจจุบันสายพันธุ์กวางในนิวซีแลนด์มีการพัฒนาสายพันธุ์กวางทั้งการผสมเทียม
การย้ายฝากตัวอ่อน และมีความชำนาญมากในการผสมข้ามพันธุ์
(วัตถุประสงค์ของการผสมพันธุ์ก็เพื่อจะได้กวางที่เขาใหญ่
มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็วหรือโตเร็ว น้ำหนักซากดี)
นอกจากนี้ยังปราศจากโรคร้ายแรง
เนื่องจากภูมิประเทศเป็นเกาะอยู่ไกลจากประเทศอื่น ในนิวซีแลนด์
มีการเลี้ยงกวางแดงมากที่สุด
นอกจากนั้นเป็นกวางวาปิตี กวางซิก้า และกวางฟอลโล
ปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงเพื่อเป็นการค้าประมาณ
500 ฟาร์ม มีจำนวนกวาง 1.5 แสนตัว
เดิมรายได้จากผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของนิวซีแลนด์เรียงตามลำดับดังนี้
โคเนื้อ โคนม แกะ และผลิตภัณฑ์กวาง
ปัจจุบันรายได้จากผลิตภัณฑ์กวางแซงขึ้นเป็นอันดับ
3 แทนแกะ
ออสเตรเลีย เริ่ม
เลี้ยงกวางช่วงปี
2390 โดยนำเข้ากวางจากยุโรป และตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา
มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เคยกำหนดว่าเจ้านายหรือราชวงศ์เท่านั้น
จึงมีสิทธิโดยถูกต้องตามกฎหมายที่จะมีกวางไว้ในครอบครอง
หลังจากนั้นจึงมีการเลี้ยงกวางในฟาร์มโดยเริ่มที่รัฐควีนส์แลนด์
อุตสาหกรรมการเลี้ยงกวางแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่เลี้ยงกวางเมืองหนาว
ได้แก่ กวางดาวยุโรป และกวางแดง
ส่วนมากมักอยู่ตอนใต้ของประเทศในรัฐนิวเซาท์เวลส์และวิคทอเรีย
เนื่องจากมีภูมิอากาศเหมาะสม อีกกลุ่มหนึ่ง
คือผู้เลี้ยงกวางเมืองร้อน คือกวางโมลัคกันรูซ่า
บริเวณรัฐควีนแลนด์ ปัจจุบันออสเตรเลียมีกวางเลี้ยงในฟาร์ม 42,670
ตัว โดยร้อยละ
60 เป็นกวางเมืองหนาว ผลผลิตหลักของกวางในออสเตรเลีย คือเนื้อกวาง
ในขณะที่เขากวางอ่อน
หาง หนัง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เป็นผลพลอยได้
ปัจจุบันออสเตรเลียนำกวางต่างชนิดมาผสมข้ามพันธุ์เพื่อปรับปรุงขนาดและเพิ่ม
ผลผลิตเนื้อ
ส่วนทางด้านการตลาดในออสเตรเลีย
มุ่งเน้นเนื้อกวางเพื่อป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก
หลังจากที่เคยพึ่งพิงการนำเข้าจากนิวซีแลนด์
มุ่งเน้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศที่มีความเชื่อถือในคุณภาพ
ของเนื้อกวางต่างประเทศ
เกาะนิวเมีย ประเทศนิวคาลิโดเนีย (หมู่เกาะระหว่างออสเตรเลีย
และนิวซีแลนด์) มีการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ทำธุรกิจครบวงจร คือมีโรงฆ่าและชำแหละซากกวาง
ส่วนใหญ่ส่งเนื้อกวางไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนีและฝรั่งเศส
ส่วนตลาดเนื้อกวางนอกยุโรป คือมาเลเซีย กวางที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นกวางรูซ่า
ซึ่งนำเข้ามาจากเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อประมาณ 120 ปีก่อนในปัจจุบันประมาณกันว่า
ในเกาะนิวเมียมีกวางป่าจำนวนกว่า 100,000 ตัว และกวางเลี้ยงอยู่ในฟาร์มต่าง
ๆ อีกประมาณ 150,000 ตัว มีฟาร์มกวางกว่า 1,000 ฟาร์ม ต้นกำเนิดฟาร์มกวางในเกาะนิวเมีย
เริ่มขึ้นในปี 2530 องค์การซีราดของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาวิจัย และชักชวนชาวนิวคาลิโดเนียทำธุรกิจฟาร์มกวาง
ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนผู้ทีฟาร์มกวางหลายด้าน ทั้งการลงทุนและการตลาดผลิตภัณฑ์กวาง
ในด้านการลงทุนรัฐบาลตั้งหน่วนงานให้สินเชื่อตลอดจนช่วยประสานกับทางการในการจัดหาที่ดินเพื่อทำฟาร์ม
ผู้เลี้ยงได้เงินกู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขดี อัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะปลอดหนี้ระยะยาว
ส่วนในด้านการตลาด รัฐบาลสนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ตลอดจนกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการทำฟาร์ม ตั้งองค์การขึ้นมาทำการตลาดคือ
OCEF ซึ่งมีโรงฆ่าและตัดแต่งเนื้อกวาง รับกวางจากเกษตรกรนำมาแปรสภาพไปเป็นเนื้อแล้วบรรจุหีบห่อเพื่อการส่งออก
นอกจากนี้ องค์กรนี้ยังทำหน้าที่ด้านการตลาดแทนเกษตรกร ตั้งแต่การเจรจา จัดทำข้อตกลง
ตลอดจนจัดส่ง และจัดการด้านบริหารการเงิน
จีนและไต้หวัน
เลี้ยงกวางแดงและกวางเอล
ซึ่งเป็นกวางเมืองหนาวเป็นส่วนใหญ่
แต่การเลี้ยงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ในจีนวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงกวางก็เพื่อตัดเขาอ่อนจำหน่ายเพียงอย่างเดียว
การเลี้ยงจะเลี้ยงเป็นรุ่น ๆ แยกเพศ และจะเลี้ยงแบบแยกขังในกรง
เวียดนาม เลี้ยงกวางพันธุ์ฟอลเลน
และซิก้า โดยเน้นการตัดเขา และแหล่งเลี้ยงอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ปัจจุบันมีการเลี้ยงเป็นการค้าประมาณ
1,000 ตัว อย่างไรก็ตามการเลี้ยงในประเทศยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
มาเลเซีย ตื่นตัวที่จะเลี้ยงกวางเป็นการค้าก่อนหน้าประเทศไทย
4 - 5 ปี นำเข้าพันธุ์จากนิวซีแลนด์ ปัจจุบันมีการเลี้ยงกวางประมาณ 2,000
- 3,000 ตัว นอกจากนี้กวางป่าในประเทศเพื่อนบ้านของไทย พม่ามีจำนวนกวางมากที่สุด
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
1 มีนาคม 2537 ระหว่างนั้นก็เริ่มติดต่อนำกวางเข้า กวางที่สหกรณ์นำเข้ามามีทั้งหมด
3 รุ่น รวมทั้งหมด 970 ตัว รุ่นสุดท้ายนำเข้าเมื่อปี 2540 กวางทุกรุ่นที่นำเข้ามามีอายุประมาณ
1 ปี สัดส่วนของตัวผู้ต่อตัวเมียคือ 1 ต่อ 20 เป็นหลักที่ตกลงกันไว้กับนิวคาลิโดเนีย
กวางทั้งหมดเป็นกวางรูซ่า ทุกวันนี้กวางพวกนี้กระจายไปอยู่ฟาร์มต่าง ๆ ในกลุ่มของสมาชิกเช่น
ระยอง ตาก พังงา ราชบุรี นครปฐม สระบุรี นครนายก กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ
ปัจจุบันนี้มีสมาชิกอย่างเป็นทางการประมาณ 97 ราย ผู้เลี้ยงจริง ๆ ประมาณ
45 ราย จำนวนในแต่ละฟาร์มต่ำสุดประมาณ 20 ตัว สูงสุดประมาณ 500 ตัว ทุกวันนี้ก็มีการซื้อขายระหว่างสมาชิกกันเอง
สำหรับผู้ที่สนใจจะเลี้ยงกวางจริง ๆ ก็ควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลกวาง
โดยที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย
มีการจัดครอสฝึกอบรมการเลี้ยงกวางปีละ 1 - 2 รุ่น ประมาณ 40 คน การอบรมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ
5 วัน ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,500 บาท นอกจากนี้ปัจจุบันกรมปศุสัตว์กำลังทดลองเลี้ยงกวางป่าอยู่
ความคืบหน้าจะมานำเสนอในโอกาสหน้า
0 comments :
Post a Comment