ลักษณะทั่วไปของกวาง
กวาง เป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง
มีลักษณะของการระวังภัยสูงมากจึงมีอาการตื่นตัวและระมัดระวังภัยจนเป็นนิสัยอยู่ตลอดเวลา
มีการหากินโดยอาจจะเป็นพวกที่ชอบหากินและอยู่เดี่ยว ๆ หรืออยู่เป็นกลุ่มเป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวบ้างเป็นบางครั้งก็มี
ขนาดตัวของกวางจะมีตั้งแต่ตัวเล็กเท่า ๆ กับลูกแกะไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าม้า
สามารถอยู่ได้ในภูมิอากาศเขตหนาว หรือเขตอากาศอบอุ่น ไปจนถึงเขตร้องชื้น
ทั้งนี้โดยแยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามภูมิอากาศที่อยู่อาศัยเช่น
กวางแดง กวางวาปิติ และกวางดาว อยู่ในเขตภูมิอากาศอบอุ่น กวางเรนเดียร์ กวางมูซ
อยู่ในเขตภูมิอากาศเขตหนาว และกวางม้า กวางรูซ่า เนื้อทราย อยู่ในภูมิอากาศร้อนชื้น
เป็นต้น
ลักษณะพิเศษของกวาง
เนื่องจากกวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผู้เป็นสัตว์ที่สามารถผลัดเปลี่ยนเขาได้
ทุกปี
กล่าวคือเมื่อใกล้ถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีการสร้างเขาอ่อน (VELVET
ANTLER)
ซึ่งก็คือโครงสร้างของมวลคล้ายกระดูกอ่อนที่ยังมีเลือดไปหล่อเลี้ยงอยู่ตลอด
เวลาได้
และนำเอาแร่ธาตุ ฮอร์โมน วิตามิน และโภชนะต่าง ๆ
ขึ้นไปสู่เขาอ่อนนี้อยู่เรื่อย
ๆ
โดยมีหนังเต็มไปด้วยขนสั้นละเอียดและหนาแน่นมองดูคล้ายผ้ากำมะหยี่ห่อหุ้ม
อยู่โดยตลอดเต็มตา
ดังนั้นชาวตะวันตกจึงเรียกเขาอ่อนชนิดนี้ว่า
VELVET ANTLER
หรือ VELVET คำเดียวซึ่งก็แปลว่าเขากำมะหยี่หรือเขาอ่อนนั่นเอง
เขาอ่อนนี้เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งประมาณ
2 - 4
เดือนก็จะแปรสภาพไปเป็นเขาแข็งที่แท้จริงโดยมีขนาดกิ่งก้านสาขาใหญ่โตมาก
น้อยตามอายุของกวางและภายในเขามีลักษณะคล้ายหินปูนสีขาวแข็งมากและ
คล้ายกระดูก
ชาวตะวันตกจึงเรียกเขาชนิดนี้ว่า แอนท์เลอร์ (ANTLER) ซึ่งน่าจะแปลว่าเขาผลัดได้ซึ่งแตกต่างไปจากคำว่า
HORN อันหมายถึงเขาที่มีลักษณะเป็นกระดูก ดังนั้นในทางวิทยาศาสตร์จึงได้จัดให้กวางเป็นสัตว์อยู่ในตระกูลเซอรวิเดอี
(CERVIDAE) ซึ่งก็หมายถึงสัตว์ที่ผลัดเปลี่ยนเขาได้ทุกปีในเพศผู้นั่นเอง
การผสมพันธุ์ ในช่วง
ต้นของฤดูผสมพันธุ์ซึ่งส่วนมากจะอยู่กลางฤดูฝนคือประมาณเดือนกรกฏาคมเป็นต้น
ไปนั้น
กวางที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะเริ่มงอกเขาอ่อน (VELVET ANTLER)
ออกมาจากปุ่มส่วนหน้าสุดของกระโหลกศรีษะ
(frontal bone procees) ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่าเบอร์
(Burrs) โดยงอกออกมามีรูปร่างเหมือนเขา
แต่จะแตกต่างจากเขาก็โดยที่มีหนังหุ้มดังได้อธิบายไว้ข้างต้น
ต่อมาเมื่อมันได้สลัดหนังหุ้มกำมะหยี่โดยการถูไถกับต้นไม้จนหนังหุ้มหลุด
ออกไปหมดแล้ว ก็จะถือว่าเป็นชุดเขาผลัดได้ที่แท้จริง (ANTLER)
เกิดขึ้น โดยระยะเวลาตั้งแต่แรกงอกมาจนถึงเวลานี้จะอยู่ระหว่าง
3 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับอายุสัตว์
หลังจากนั้นกวางตัวผู้เหล่านี้ก็จะไม่กินอาหารใด ๆ
เลย
และจะต่อสู้กันเองเพื่อความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว
คุมฝูงตัวเมียผสมพันธุ์จนหมดฤดูผสมพันธุ์ไปในประมาณฤดูหนาว
และโดยที่ระยะเวลาเป็นสัดของกวางตัวเมียมีเพียง 3 - 4
ชั่วโมงเท่านั้นกวางตัวผู้จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาจนกว่าจะผสม
พันธุ์เสร็จจึงค่อยติดตามตัวอื่นในฝูงต่อไป
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกฎธรรมชาติที่สัตว์ตัวที่แข็งแรงกว่าเท่านั้นจะสามารถสืบพันธุ์และดำรงสืบสานต่อไปได้
กวางตัวเมียจะตั้งท้องประมาณ 8 เดือน และออกลูก 1 ตัวเป็นส่วนใหญ่
การออกลูก 2 ตัวนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกวางในเมืองร้อน
แต่หากเป็นเมืองหนาวแล้ว มีโอกาสได้ลูก 2 ตัวสูงกว่า
0 comments :
Post a Comment