พันธุ์กวาง
สำหรับผู้จะทำธุรกิจฟาร์มกวางประเด็นที่ควรพิจารณาว่ากวางพันธุ์ใดควรจะเลี้ยงเป็นการค้าในประเทศไทยมี
5 ประเด็นคือ
1. ควรเป็นพันธุ์ที่เขาอ่อนขนาดใหญ่ เพราะเขาอ่อนจะเป็นรายได้หลักจากการเลี้ยงกวางในระยะแรก
2. ควรเป็นพันธุ์ที่มีขนาดตัวขนาดกลาง เพื่อสะดวกแก่การจัดการ
และได้เนื้อมากพอสมควร ซึ่งรายได้จากเนื้อกวางผู้ประกอบธุรกิจนี้จะได้รับภายหลังจากเลี้ยงกวางไปได้
4 - 5 ปี
3. ควรเป็นพันธุ์ที่อยู่ได้ทั้งพื้นที่ชื้นและแห้ง เติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย
4. ควรเป็นพันธุ์ต้านโรคติดต่อโดยเฉพาะวัณโรค โรคปากและเท้าเปื่อย
และโรคโลหิตเป็นพิษ โรคจากเห็บและแมลงต่าง ๆ ซึ่งโรคเหล่านี้พบบ่อยในการเลี้ยงกวางในมาเลเซีย
5. โตเร็วและกินพืชได้หลายชนิด
ซึ่งเมื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ แล้วพันธุ์กวางที่น่าสนใจ คือ
1. พันธุ์กวางไทย หรือเรียกกันว่า
กวางม้า กวางควาย หรือกวางป่า (Sambar Deer) สูงประมาณ 135 - 150 เซนติเมตร
น้ำหนักตัวผู้ประมาณ 200 - 300 กิโลกรัม ขนาดกำลังพอเหมาะในการเลี้ยง ง่ายต่อการควบคุม
และให้เนื้อปริมาณมากพอสมควร ให้น้ำหนักเขาอ่อนสดประมาณ 3 - 4 กิโลกรัม เป็นเขาอ่อนที่นิยมมากในตลาดเอเซีย
อาศัยอยู่ได้ในที่ลุ่ม ปลัก หรือแห้ง ยังไม่มีรายงายการเป็นวัณโรคปอด ทนต่อเห็บและแมลง
เป็นโรคปากและเท้าเปื่อย และมีรายงานเกี่ยวกับโรคโลหิตเป็นพิษน้อยมาก อย่างไรก็ตามปัญหาคือ
ปัจจุบันปริมาณกวางไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้สนใจเลี้ยง
2. กวางชวา หรือกวางรูซ่า (Rusa Deer)
กวางประเภทนี้มีน้ำหนักเขาอ่อนสดน้อยมากเพียง 1 กิโลกรัม และเป็นเขาอ่อนที่ยังไม่เป็นที่นิยมในตลาดเอเซีย
เนื่องจากขนาดตัวเล็ก ตัวผู้สูงประมาณ 80 - 100 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ
40 - 60 กิโลกรัมให้เนื้อน้อยประมาณ 35 กิโลกรัมต่อตัว อยู่ได้เฉพาะในพื้นที่แห้งและอากาศแห้ง
พบว่าการเลี้ยงในมาเลเซียเป็นวัณโรคปอดบ่อย ๆ กวางรูซ่ามี 2 สายพันธุ์ คือ
โมลัคกันรูซ่า (Moluccan Rusa) นิยมเลี้ยงในออสเตรเลีย และจาวานรูซ่า (Javan
Rusa) มีขนาดใหญ่กว่าร้อยละ 25 นิยมเลี้ยงในนิวคาลิโดเนีย
3. กวางดาว หรือกวางทอง (Chital Deer)
ให้น้ำหนักเขาอ่อนสด 2 - 3 กิโลกรัม อยู่ในที่ชื้นแห้งในประเทศไทยยังไม่มีรายงานวัณโรคปอด
มีเลี้ยงในไทยมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 50 ปี กินพืชได้หลายชนิด มีลักษณะเชื่องมากกว่ากวางชนิดอื่น
ๆ
4. กวางซิก้า หรือกวางจีน (Sika Deer)
ให้น้ำหนักเขาอ่อนสด 2 - 3 กิโลกรัม เป็นเขาที่นิยมในตลาดเอเซียชนิดหนึ่ง
ตัวผู้น้ำหนัก 60 - 80 กิโลกรัม สูง 1 เมตร มีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น และจีน
ซึ่งมีอากาศแห้ง ยังไม่มีรายงานโรควัณโรคปอด และโรคปากและเท้าเปื่อย เกษตรกรทั่วไปสามารถเลี้ยงได้
โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาติจากกรมป่าไม้ จึงเป็นกวางที่น่าสนใจอีกพันธุ์หนึ่ง
5. กวางแดง (Red Deer) ให้น้ำหนักเขาอ่อนสด
4 - 5.5 กิโลกรัม เป็นเขาที่นิยมในตลาดพอสมควร และเป็นกวางที่ให้เขาอ่อนที่ขนาดใหญ่ที่สุดเทียงกับกวางที่กล่าวมาแล้ว
ตัวผู้น้ำหนักตัว 300 - 400 กิโลกรัม สูงประมาณ 150 - 160 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตหนาวอากาศแห้ง
หลักฐานการเลี้ยงในเมืองไทยยังไม่ทราบแน่ชัด จึงยังไม่มีรายงานทราบเรื่องโรคต่าง
ๆ อย่างไรก็ตาม กวางแดงเป็นพันธุ์กวางที่เลี้ยงมากที่สุดในนิวซีแลนด์ และพบว่าป่วยเป็นวัณโรคบ่อย
0 comments :
Post a Comment