ความเป็นไปได้สำหรับการทำฟาร์มเลี้ยงกวางในประเทศไทย
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 อนุมัติให้การเพาะเลี้ยงกวางม้าหรือกวางไทยในเชิงการค้าเป็นธุรกิจที่ถูก ต้องตามกฎหมายโดยต้องมีการขออนุญาตและจดทะเบียนฟาร์มกับกรมป่าไม้ นอกจากนี้กวางยังได้รับการบรรจุเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริมการ เลี้ยงมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงกวางจึงได้รับความสนใจอย่างมากจากเกษตรกร เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าธุรกิจนี้น่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีและคุ้มค่ากว่า ปศุสัตว์ประเภทอื่น ๆ ซึ่งก็ทำให้ธุรกิจฟาร์มกวางขยายตัวอย่างรวดเร็ว
สาเหตุที่ธุรกิจฟาร์มกวางได้รับความสนใจ เป็นอย่างมากแม้จะเป็น ธุรกิจใหม่สำหรับประเทศไทยเนื่องจากในต่างประเทศซึ่งมีภูมิประเทศและภูมิ อากาศใกล้เคียงกับไทย เช่น นิวคาลิโดเนีย สามารถประสบความสำเร็จอย่างมากในการดำเนินธุรกิจฟาร์มกวางตลาดรองรับ ผลิตภัณฑ์กวางยังเปิดกว้างทั้งตลาดในประเทศและตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทย นอกจากนี้จุดคุ้มทุนของธุรกิจฟาร์มกวางนี้ประมาณ 3 ปี
ตลาดรองรับผลิตภัณฑ์กวางในประเทศขณะนี้มีเพียงตลาดเขากวางอ่อน ซึ่งจำหน่ายอยู่ตามร้านขายยาจีนโบราณ แหล่งที่พบมากคือ เยาวราช รูปแบบที่ขายมีทั้งเขาอ่อนชนิดที่สกัดเป็นตัวยาแล้ว และเขากวางแห้งที่ยังไม่แปรสภาพ ราคาจำหน่ายประมาณ 20,000 - 30,000 บาท ซึ่งปัจจุบันพึ่งพิงการนำเข้าจากจีน มูลค่า 5 - 7 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นเมื่อมีการเลี้ยงกวางอย่างเป็นล่ำเป็นสันในประเทศไทยก็จะลดการพึ่งพิงนำเข้าเขากวางอ่อนได้
นอกจากนี้ในระยะ 5 - 6 ปีต่อไปตลาดผลิตภัณฑ์กวางประเภทอื่น ๆ ก็จะเกิดตามขึ้นมาด้วยโดยเฉพาะตลาดเนื้อกวาง ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคในตลาดต่างประเทศ ราคาจำหน่ายจะอยู่กิโลกรัมละ 300 - 500 บาท ซึ่งสหกรณ์ผู้เลี้ยงกวางแห่งประเทศไทย มีแผน ที่จะขยายตลาดเนื้อกวางในประเทศ โดยจะแยกชิ้นส่วนเนื้อบรรจุในแพคเก็จสำเร็จรูป ส่งจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ คาดว่าจะต้องมีการสร้างโรงฆ่าชำแหละกวาง ซึ่งคงจะต้องลงทุนประมาณ 14 ล้านบาท แม้ว่าปัจจุบันเนื้อกวางยังเป็นของหารับประทานยากในเมืองไทยเมื่อเทียบกับ เนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ นอกจากที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตย่านสุขุมวิท แต่ในปัจจุบันได้มีเริ่มมีการบุกเบิกตลาดเนื้อกวางในประเทศคือ บริษัท เวนิสัน (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนจะหาผู้ร่วมลงทุนเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศ เพื่อนำเข้าเนื้อกวางมาจำหน่าย
ตลาดที่น่าสนใจอีกตลาดหนึ่ง คือ ตลาดเอ็นกวาง ซึ่งปัจจุบันร้านอาหารและภัตตาคารใหญ่ ๆ นำเอ็นกวางไปประกอบอาหารประเภทตุ๋นเครื่องยาจีน ซึ่งราคาเอ็นกวางสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่น่าสนใจในระยะสั้นสำหรับการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกวางในประเทศไทย ก็คือธุรกิจเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และธุรกิจเพาะเลี้ยงลูกกวางเนื่องจากราคาพ่อแม่พันธุ์กวางไทยอยู่ในเกณฑ์สูง ซึ่งหายากในปัจจุบันมีราคาสูงถึง 40,000 - 50,000 บาท ต่อตัว ส่วนกวางรูซ่าที่นำเข้าราคาจำหน่าย 20,000 บาทต่อตัว
ดังนั้นผู้ที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจเพาะเลี้ยงกวางจะต้องลงทุนในด้านพันธุ์กวางสูงมาก แต่เมื่อคำนึงถึงผลตอบแทนในระยะยาวก็นับว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน ถ้าจะเปรียบรายได้ของธุรกิจฟาร์มกวางของนิวซีแลนด์
จะเห็นว่าเกษตรกรนิวซีแลนด์จะได้รับผลตอบแทนจากการทำธุรกิจฟาร์มกวาง 100 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อคำนวณแล้วน้ำหนักตัวประมาณ 40 กิโลกรัม เกษตรกรนิวซีแลนด์ได้รับผลตอบแทนทั้งหมดประมาณ 4,000 บาทต่อตัว และมื่อรวมผลตอบแทนจากการจำหน่ายเอ็น พังพืด หาง และอวัยวะภายในแล้ว กวางแต่ละตัวน่าจะจำหน่ายได้ 6,000 - 8,000 บาท นับว่าเป็นรายได้ที่น่าสนใจทีเดียว ซึ่งผลตอบแทนนี้ยังไม่รวมการจำหน่ายเขากวางอ่อน
แผนการตลาดของกวางในอนาคต พ.ศ.2541
ปริมาณกวาง 3,000 ตัว พันธุ์กวางราคา 20,000 - 50,000 บาท/ตัว
ฆ่าขายเนื้อกก.ละ 600 บาท ราคาเนื้อกวางนำเข้า 2,000 บาท/กก.
เขากวางอ่อนสหกรณ์ 12,000 บาท/กก. ตลาดเยาวราช 20,000 - 30,000 บาท/กก.
อนาคตปี พ.ศ. 2551
ปริมาณกวาง 50,000 - 100,000 ตัว ขายทำพ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์ ราคา 10,000 - 13,000 บาทต่อตัว
เข้าโรงเชือดขายเนื้อปีละ 10,000 ตัว ราคาขายเนื้อ 350 บาท/กก. ตลาดซูเปอร์มาเก็ต ห้องอาหารของโรงแรมใหญ่ ภัตตาคาร
เขากวางอ่อน อบแห้งส่งออกต่างประเทศ ตลาดเยาวราช สหกรณ์ บริษัทผู้ผลิตยา ราคาอบแห้ง 20,000 - 30,000 บาท/กก.
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำฟาร์มกวาง และฟาร์มกวางในประเทศไทย