Thursday, August 8, 2013

ความเป็นไปได้สำหรับการทำฟาร์มเลี้ยงกวางในประเทศไทย


   พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 อนุมัติให้การเพาะเลี้ยงกวางม้าหรือกวางไทยในเชิงการค้าเป็นธุรกิจที่ถูก ต้องตามกฎหมายโดยต้องมีการขออนุญาตและจดทะเบียนฟาร์มกับกรมป่าไม้ นอกจากนี้กวางยังได้รับการบรรจุเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริมการ เลี้ยงมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงกวางจึงได้รับความสนใจอย่างมากจากเกษตรกร เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าธุรกิจนี้น่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีและคุ้มค่ากว่า ปศุสัตว์ประเภทอื่น ๆ ซึ่งก็ทำให้ธุรกิจฟาร์มกวางขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจที่น่าสนใจในระยะสั้น ก็คือ ธุรกิจเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์และธุรกิจเพาะเลี้ยงลูกกวางและธุรกิจที่น่าสนใจในระยะอีก 5 - 6 ปีข้างหน้าก็คือ ตลาดเนื้อกวางในประเทศ ปัจจุบันฟาร์มกวางที่เพาะเลี้ยงในลักษณะการค้ามีประมาณ 5 ฟาร์ม ซึ่งเพาะเลี้ยงกวางไทย 200 - 300 ตัวคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้จำนวนฟาร์มกวางจะเพิ่มขึ้นอีก 10 ฟาร์ม โดยจะเลี้ยงกวางพันธุ์รูซ่า ซึ่งสหกรณ์ผู้เลี้ยงกวางแห่งประเทศไทยนำเข้าจากประเทศนิวคาลิโดเนีย 3,000 ตัว เพื่อจำหน่ายแก่สมาชิกสหกรณ์ ฯ โดยทยอยส่งเข้ามาครั้งละ 400 - 500 ตัวและจะครบตามจำนวนภายใน 3 ปี

สาเหตุที่ธุรกิจฟาร์มกวางได้รับความสนใจ เป็นอย่างมากแม้จะเป็น ธุรกิจใหม่สำหรับประเทศไทยเนื่องจากในต่างประเทศซึ่งมีภูมิประเทศและภูมิ อากาศใกล้เคียงกับไทย เช่น นิวคาลิโดเนีย สามารถประสบความสำเร็จอย่างมากในการดำเนินธุรกิจฟาร์มกวางตลาดรองรับ ผลิตภัณฑ์กวางยังเปิดกว้างทั้งตลาดในประเทศและตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทย นอกจากนี้จุดคุ้มทุนของธุรกิจฟาร์มกวางนี้ประมาณ 3 ปี

ตลาดรองรับผลิตภัณฑ์กวางในประเทศขณะนี้มีเพียงตลาดเขากวางอ่อน ซึ่งจำหน่ายอยู่ตามร้านขายยาจีนโบราณ แหล่งที่พบมากคือ เยาวราช รูปแบบที่ขายมีทั้งเขาอ่อนชนิดที่สกัดเป็นตัวยาแล้ว และเขากวางแห้งที่ยังไม่แปรสภาพ ราคาจำหน่ายประมาณ 20,000 - 30,000 บาท ซึ่งปัจจุบันพึ่งพิงการนำเข้าจากจีน มูลค่า 5 - 7 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นเมื่อมีการเลี้ยงกวางอย่างเป็นล่ำเป็นสันในประเทศไทยก็จะลดการพึ่งพิงนำเข้าเขากวางอ่อนได้



นอกจากนี้ในระยะ 5 - 6 ปีต่อไปตลาดผลิตภัณฑ์กวางประเภทอื่น ๆ ก็จะเกิดตามขึ้นมาด้วยโดยเฉพาะตลาดเนื้อกวาง ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคในตลาดต่างประเทศ ราคาจำหน่ายจะอยู่กิโลกรัมละ 300 - 500 บาท ซึ่งสหกรณ์ผู้เลี้ยงกวางแห่งประเทศไทย มีแผน ที่จะขยายตลาดเนื้อกวางในประเทศ โดยจะแยกชิ้นส่วนเนื้อบรรจุในแพคเก็จสำเร็จรูป ส่งจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ คาดว่าจะต้องมีการสร้างโรงฆ่าชำแหละกวาง ซึ่งคงจะต้องลงทุนประมาณ 14 ล้านบาท แม้ว่าปัจจุบันเนื้อกวางยังเป็นของหารับประทานยากในเมืองไทยเมื่อเทียบกับ เนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ นอกจากที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตย่านสุขุมวิท แต่ในปัจจุบันได้มีเริ่มมีการบุกเบิกตลาดเนื้อกวางในประเทศคือ บริษัท เวนิสัน (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนจะหาผู้ร่วมลงทุนเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศ เพื่อนำเข้าเนื้อกวางมาจำหน่าย

ตลาดที่น่าสนใจอีกตลาดหนึ่ง คือ ตลาดเอ็นกวาง ซึ่งปัจจุบันร้านอาหารและภัตตาคารใหญ่ ๆ นำเอ็นกวางไปประกอบอาหารประเภทตุ๋นเครื่องยาจีน ซึ่งราคาเอ็นกวางสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่น่าสนใจในระยะสั้นสำหรับการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกวางในประเทศไทย ก็คือธุรกิจเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และธุรกิจเพาะเลี้ยงลูกกวางเนื่องจากราคาพ่อแม่พันธุ์กวางไทยอยู่ในเกณฑ์สูง ซึ่งหายากในปัจจุบันมีราคาสูงถึง 40,000 - 50,000 บาท ต่อตัว ส่วนกวางรูซ่าที่นำเข้าราคาจำหน่าย 20,000 บาทต่อตัว

ดังนั้นผู้ที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจเพาะเลี้ยงกวางจะต้องลงทุนในด้านพันธุ์กวางสูงมาก แต่เมื่อคำนึงถึงผลตอบแทนในระยะยาวก็นับว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน ถ้าจะเปรียบรายได้ของธุรกิจฟาร์มกวางของนิวซีแลนด์
จะเห็นว่าเกษตรกรนิวซีแลนด์จะได้รับผลตอบแทนจากการทำธุรกิจฟาร์มกวาง 100 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อคำนวณแล้วน้ำหนักตัวประมาณ 40 กิโลกรัม เกษตรกรนิวซีแลนด์ได้รับผลตอบแทนทั้งหมดประมาณ 4,000 บาทต่อตัว และมื่อรวมผลตอบแทนจากการจำหน่ายเอ็น พังพืด หาง และอวัยวะภายในแล้ว กวางแต่ละตัวน่าจะจำหน่ายได้ 6,000 - 8,000 บาท นับว่าเป็นรายได้ที่น่าสนใจทีเดียว ซึ่งผลตอบแทนนี้ยังไม่รวมการจำหน่ายเขากวางอ่อน

แผนการตลาดของกวางในอนาคต พ.ศ.2541 

ฟาร์มเพาะเลี้ยงกวาง 40 ฟาร์ม
ปริมาณกวาง 3,000 ตัว พันธุ์กวางราคา 20,000 - 50,000 บาท/ตัว
ฆ่าขายเนื้อกก.ละ 600 บาท ราคาเนื้อกวางนำเข้า 2,000 บาท/กก.
เขากวางอ่อนสหกรณ์ 12,000 บาท/กก. ตลาดเยาวราช 20,000 - 30,000 บาท/กก.
อนาคตปี พ.ศ. 2551

ฟาร์มกวาง 500 ฟาร์ม
ปริมาณกวาง 50,000 - 100,000 ตัว ขายทำพ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์ ราคา 10,000 - 13,000 บาทต่อตัว
เข้าโรงเชือดขายเนื้อปีละ 10,000 ตัว ราคาขายเนื้อ 350 บาท/กก. ตลาดซูเปอร์มาเก็ต ห้องอาหารของโรงแรมใหญ่ ภัตตาคาร

เขากวางอ่อน อบแห้งส่งออกต่างประเทศ ตลาดเยาวราช สหกรณ์ บริษัทผู้ผลิตยา ราคาอบแห้ง 20,000 - 30,000 บาท/กก.

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำฟาร์มกวาง และฟาร์มกวางในประเทศไทย 

การตัดเขากวางอ่อน
    เขาของกวางซึ่งเรียกว่า ANTLERS จะมีลักษณะเฉพาะตัว เขาตันไม่มีปลอกหุ้มเหมือนโคกระบือ หลังจากที่เขาแก่หลุด เพราะเนื่องจากมีวงจรของเขาอ่อน ซึ่งในระยะนี้จะมีเซลล์เนื้อเยื่อมหัศจรรย์ดันจนเขาแก่หลุดไปเซลล์เนี้อเยื่อนี้ จะเจริญเพิ่มทวีจำนวนอย่างรวดเร็ว จนสามารถปิดรอยแผลของเขาเก่าที่หลุดไป เหมือน CAMBIUM ของเนื้อไม้ที่ปิดหุ้มรอยแผลของลำต้นเมื่อเซลล์เนื้อเยื่อ หุ้มปิดสนิทก็จะเริ่มเจริญขึ้นเป็นทรงเขาเริ่มแตกกิ่งคู่แรกประมาณ 1 - 2 เดือน กิ่งที่งอกออกมาเรียกว่ากิ่งรับเหมา หลังจากนั้นเขากวางจะเริ่มแตกเจริญต่อไป เริ่มแตกกิ่งปลายเขาเมื่อประมาณ 3 เดือน
ในช่วงนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าอัณฑะจะหดเข้าไปในช่องท้อง กวางจะระวังเขาอ่อนที่ขึ้นกับตัว จะไม่แสดงนิสัยดุดัน ก้าวร้าว กัดฟัน ใช้เขาทิ่มแทง ฝนเขา ขวิดและต่อสู้กันเองในฝูง แต่พอถึงในฤดูที่กวางเขาแก่ สัตว์ในฝูงมักจะมีรอยแผลเหวอะหวะไปทั้งตัว
การตัดเขากวาง จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดอันตรายจากการจัดการฝูงกวาง ไม่ให้ประสบปัญหาอีกทางหนึ่งได้ เขากวางที่ตัดออกสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ แทนที่จะปล่อยให้แก่ไปเป็นหินปูนอย่างเปล่าประโยชน์ และเป็นอันตรายต่อฝูงสัตว์ที่ทำการเลี้ยงขยายพันธุ์
การตัดเขากวางจะเริ่มตัดกันเมื่อ เขากิ่งสุดท้ายเริ่มแตกแยกออกมาจากกันยาวไม่เกิน 2 นิ้ว จากการสังเกตในระยะนี้เขากวางจะเจริญเติบโตรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณวันละ 1 - 2 ซม. หรือจะคำนวณจากการหลุดของเขาไม่เกิน 90 วัน การตัดเขากวางอ่อนเมื่อตัดครั้งแรกผ่านไป ซึ่งในระยะนี้เขากวางยังไม่แกจัดรอยแผลถูกดูแลรักษาไว้ให้อย่างดีด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง เขากวางจะงอกขึ้นมาใหม่เป็นครั้งที่ 2 และสามารถใช้ประโยชน์ได้เช่นเดิม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเขากวางอ่อน
1. เชือกมัดเขากวาง
2. เชือกมัดห้ามเลือดเส้นเล็ก ขนาด 0.5 มิลลิเมตร
3. สำลีซับเลือด
4. ยาดำ รักษาแผล
5. เหล็กล๊อกหัวกวาง
6. เลื่อยตัดกิ่งไม้ฟันละเอียด
7. ถุงพลาสติกขนาด 7" * 10"
8. เหล้าขาวดีกรีต่ำ (20 - 35 ดีกรี)
9. ถังแสตนเลสผสมเหล้ากับเลือดกวางให้เข้ากัน
10. ผ้าดิบสีขาวขนาด 6" * 6"
11. คนตัดเขาและผู้ช่วยอีก 4 คน
ขั้นตอนการตัดเขา
1. เวลาที่ตัดควรเป็นตอนเช้าตรู่ เพราะจะทำให้แรงดันของเลือดต่ำ และเลือดจะได้ไม่ออกมาก
2. จับกวางมัดโดยการใช้บ่วงบาศก์คล้องที่ขาหลังมัดให้กวางนอนลง มัดขาหน้าทั้ง 2 ข้างดึงไว้ คอกจับควรเป็นคอกขนาดเล็ก เพื่อลดทางวิ่งของกวางและสะดวกในการจับ
3. จับหัวกวางใส่ในเหล็กล๊อกหัวกวาง ใช้เชือกที่มีอยู่มัดติดกับเหล็กล๊อก ใช้เท้าเหยียบเหล็กล็อกคนละข้าง อีก 2 คน อยู่ที่ปลายเหล็กล๊อกคนละข้าง อีก 2 คน ดึงเชือกขาหน้าและขาหลังไว้ ใช้เชือกเล็กมัดห้ามเลือดที่โคนขาไว้ก่อนตัด
4. ใช้เลื่อยที่คมตัดเขาอ่อน ห่างจากโคนเขาประมาณ 2 - 3 นิ้ว ตัดให้ขาดออกมาและถ้าต้องการเลือดจากเขาก็ให้ใช้ถุงพลาสติกใส่เหล้ามารองเอาตอนนี้เลย
5. เมื่อตัดเขาออกมาแล้ว ให้ยกเขาให้รอยตัดขึ้นด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกมาจากช่องทางเดินของเส้นเลือด และเพื่อรักษาคุณภาพของเขากวางอ่อนให้มีคุณภาพสูงสุด
6. ใช้ยาดำโปะไปที่รอยแผลที่โคนเขา และเอาสำลีโปะทับไปอีกชั้น จากนั้นใช้ผ้าขาวที่เตรียมไว้ห่อแล้วใช้เชือกขนาด 0.5 มิลลิลิตรมัดติดโคนเขาเพื่อห้ามเลือดไว้ การมัดใช้เทคนิคเพื่อให้ดึงออกง่าย ๆ และเมื่อแผลหายแล้ว หรือเลือดหยุดไหล จะได้คลายเชือกออกจากการมัดได้สะดวก
7. เริ่มดำเนินการตัดอีกข้างหนึ่งเช่นเดียวกันดังกล่าวมาแล้ว
8. แก้มัดกวางแล้วปล่อยออกไป
9. ถ้าแผลแห้งแล้ว หรือเลือดหยุดไหล ให้ดึงเชือกที่มัดห้ามเลือดออก
10. นำเขากวางอ่อนไปแช่แข็ง เพื่อเตรียมส่งหรือดำเนินการอบด้ายความร้อนให้แห้ง เก็บไว้จำหน่ายต่อไป
11. ถ้าได้ปฏิบัติอย่างถูกวิธีดังกล่าว คุณสมบัติของยาดำจะรักษาแผลได้ดี ทำให้เซลล์เจริญของเนื้อเยื่อปิดรอยแผลสนิทอย่างรวดเร็วและเขากวางจะเจริญเติบโตอีกครั้ง สามารถตัดได้อีกครั้งก่อน 45 วัน ซึ่งเขาอ่อนที่งอกขึ้นครั้งที่สองนี้ จะมีขนาดเล็กกว่าครั้งแรกประมาณ 50 %
ข้อควรระวัง
1. การตัดเขากวางต้องห้ามเลือดให้หยุด ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เลือดจะไหลไม่หยุดและกวางจะตายได้
2. ผู้ตัดเขากวางต้องมีความชำนาญ และดำเนินการเป็นทีม ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการจับกวางมัดและการตัด เพื่อลดอันตรายการช็อกของกวางด้วย
3. ห้ามใช้ยาซึมหรือยาสลบ ที่จะไปมีผลกระทบต่อกระแสโลหิตของกวาง เพราะเขากวางอ่อนมีเส้นส่งมาเลี้ยงด้วย ยาจะติดไปกับเขากวางอ่อนอาจจะมีผลกระทบกับผู้บริโภค
4. ในการบังคับกวางด้วยซองบังคับหรืออุปกรณ์ที่ดัดแปลงนั้นก็สามารถทำได้ต้องระวังไว้เช่นกัน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งขั้นตอนก็จะประกอบด้วยการฉีดยาชาที่บริเวณโคนเขา และใช้ยางรัดให้แน่นก่อนใช้เลื่อยมือตัดเขาออก แล้วจึงใช้ยาเนกาซันโปะแผลและภายใน 4 - 10 ชั่วโมงแผลก็จะแห้งเป็นปกติได้ 

การอบเขากวาง กรรมวิธีดั้งเดิมจะตั้งกะทะคั่วทรายให้ร้อน นำเขาอ่อนลงคั่ว (คล้ายกับการคั่วเกาลัด) หรือหากจะไม่ทำให้แห้งทันที ก็จะใช้วิธีเก็บรักษาโดยนำไปแช่เย็น ในปัจจุบันวิธีนิยมคือ เอาผ้าพันเขากวางไว้เหนือเตา โดยใช้ไฟอ่อน ๆ รมเขากวางต้องคอยดูความแรงของไฟตลอดเวลาถ้าไฟแรงเกินไปเขาจะแตกและไหม้การอบ เขากวางต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญมาก บางครั้งถ้าใช้ไฟอ่อนเกินไปเขาก็จะเน่าเสียได้ หรือภายนอกแห้งแต่ภายในอาจไม่แห้ง เขากวางไหม้ ขายได้ราคาต่ำส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงม้ามาขอซื้อในราคาประมาณคู่ละ 2,000 บาท ทั้งนี้เพื่อนำไปบดผสมกับน้ำผึ้งให้ม้ากินเพื่อเพิ่มพละกำลังให้ม้า เมื่ออบแห้งแล้วก่อนหั่นจะใส่เหล้าหมักเอาไว้ก่อนเพื่อให้เขาอ่อนตัวแล้วจึง หั่นเขากวางเป็นชิ้นบาง ๆ ตลาดเขากวางที่เยาวราชขายกิโลกรัมละ 20,000 - 30,000 บาท โดยผู้ซื้อไม่สามารถเลือกส่วนกลางส่วนโคนหรือปลายได้ ผู้ขายจะหั่นคละกันไป

ผลิตภัณฑ์จากกวาง


1. เขาอ่อน
(คู่หนึ่งหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม)หาง เอ็นและตัวเดียวอันเดียวจะมีคุณสมบัติคล้ายโสม ถือเป็นยาโป๊ว ทำให้แข็งแรง อายุยืน ความจำดี และสุขภาพดี นำมาตากแห้งทำเครื่องยาจีน (ในนิวซีแลนด์ขายเป็นเขาสดแช่เย็น ราคาคู่ละ 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของเขา)ราคาเขาอ่อนสไลต์บาง ๆ เขาละ 20,000 - 30,000 บาท
2. เนื้อ สีแดงกว่าเนื้อโค เนื่องจากธาตุเหล็กมากกว่า(น้ำหนักเนื้อ 70 - 75 % ของน้ำหนักตัวมากกว่าโคขุน ซึ่งมีน้ำหนักเนื้อ 65 %)
3. กระดูกและส่วนอื่น ๆ ที่เหลือบดทำอาหารสัตว์
เมื่อมองการเลี้ยงกวางบ้านเราในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่ก็มักจะเลี้ยงเพื่อทำการขายพ่อแม่พันธุ์และลูกและตัดเขากวางกวางอ่อนขาย
เมื่อกวางตัวผู้อายุ 1 ปีเขาจะงอก 1 แท่งเรียกว่า เขาเทียนเมื่อเขาเทียนหลุดก็จะเริ่มมีเขาที่ 2 งอกออกมาในช่วงปีที่สอง เขานี้จะตัดขายได้ แต่เขาที่ได้จะเป็นเขาขนาดเล็ก ราคาเขาสดประมาณ 3,000 - 4,000 บาท เมื่อกวางอายุ 3 ปี เขาที่ตัดได้จะใหญ่ขึ้นราคาจำหน่ายสดประมาณ 5,000 - 6,000 บาท ราคาของเขากวางอ่อนจะสูงขึ้นตามอายุกวาง บางเขาอาจจะมีราคา 20,000 - 30,000 บาท
ปีหนึ่งจะตัดได้เพียงครั้งเดียว เมื่อกวางอายุได้ 20 - 25 ปี จะสามารถตัดเขาได้ประมาณ 20 ครั้ง แต่ถ้าจะเลี้ยงเอาเนื้อจะต้องส่งเข้าโรงเชือดอายุกวางไม่ควรเกิน 2 ปี ถ้าอายุมากกว่านี้เนื้อจะไม่นิ่ม
การสังเกตุอายุของเขากวางดูได้จาก "เม็ดมะระ" ซึ่งเป็นเม็ดตะปุ่มตะป่ำที่เขา ถ้ามีมากเกินไปแสดงว่าเขาค่อนข้างแก่และราคาตก ปัจจุบันได้มีการศึกษาและวิจัยสรรพคุณของเขากวางอ่อน มีการพัฒนาการนำมาใช้ประโยชน์ให้สะดวกกว่าสมัยโบราณเช่น การทำเป็นผงเขากวางอ่อนบรรจุแค็ปซูล
ผลการวิจัยพบว่าเขากวางอ่อนมีโปรสตาแกลนดินส์ (Prostaglandins) ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกายช่วยลดอาการบาดเจ็บ บวม ติดเชื้อและอาการปวดต่าง ๆ ได้ โดยขนาดรับประทาน รับประทานวันละ 1 แค็ปซูล เวลาเช้า ผงเขากวางอ่อนผลิตจากเขากวางที่กำลังงอกออกมาใหม่ ๆ มีส่วนประกอบของโปรตีนคลอเจน ซึ่งยอมรับกันว่ามีคุณสมบัติในการสมานแผลและบำรุงรักษาผิวจากการวิเคราะห์ ทางเคมีพบว่าผงเขากวางอ่อนจะประกอบด้วยสารอาหารและแร่ธาตุที่สำคัญดังนี้
- สารอินทรีย์ประมาณ 54 %
- โปรตีน 47 % ประกอบไปด้วยโปรตีนคลอลาเจนเป็นส่วนใหญ่และโปรตีนอื่น ๆ ได้แก่กลูตามิกแอซิค อะลานิน ไกลซีน โพรลีน ตลอดจนกรดอมิโน อื่น ๆ อีกหลายชนิด
- แร่ธาตุ 33 % ประกอบด้วย แกงกลิโอไซต์ สฟิงโคไมอีลิน และโปรสตาแกลนดินส์
- ความชื้น 12 % เถ้าถ่าน 34 % น้ำตาล 3 % และกรดอะมิวโคโพลีแซคคาไรค์น้อยกว่า 1 %
การแบ่งเกรดเขากวางขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่าง และความสมบูรณ์ของเขากวางโดยจะแบ่งเป็น 5 เกรด (ดูรายละเอียดในตาราง) ถ้าจะจำหน่ายเป็นเขากวางสดก็จะต้องใส่ถุงพลาสติกแช่เย็นไว้รอจำหน่าย ซึ่งผู้เลี้ยงกวางในนิวซีแลนด์จะจำหน่ายเฉพาะเขากวางสดเท่านั้น โดยผู้ซื้อซึ่งเป็นชาวเอเซียจะนำเขากวางไปอบเอง หลังจากอบแล้วจึงขนส่งขายต่างประเทศ
เขากวางอ่อนทำรายได้ให้แก่เกษตรประมาณกิโลกรัมละ 2,000 - 3,000 บาท


ตารางการจัดลำดับเกรดเขากวางของ CIRAD

เกรด ขนาดลำดับเกรด เส้นรอบวง ความยาว จำนวนกิ่งแขนง
พิเศษ A พิเศษ A
พิเศษ A2
  -
-
1
2
A A1 ยาว
A1 กลาง
A1 สั้น
A2 ยาว
A2 กลาง
A2 สั้น
18 ซม.ขึ้นไป
18 ซม. ขึ้นไป


16 ซม. ขึ้นไป
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1
1
1
2
2
2
B B1 ยาว
B1 กลาง
B1 สั้น
B2 ยาว
B2 กลาง
B2 สั้น




14 ซม. ขึ้นไป
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1
1
1
2
2
2
C C1 ยาว
C1 กลาง
C1 สั้น
C2 ยาว
C2 กลาง
C2 สั้น




13 ซม. ขึ้นไป
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
มากกว่า 40 ซม.
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1
1
1
2
2
2
D D1 ยาว
D1 สั้น
D2 ยาว
D2 สั้น



11 ซม. ขึ้นไป
มากกว่า 40 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม
มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1
1
2
2
E E ยาว
E สั้น
  มากกว่า 30 ซม.
น้อยกว่า 30 ซม.
1 หรือ 2
1 หรือ 2
Spiker
(เขาแรกของกวาง)
ใต้หวัน
SP1
SP2
TW1

TW2
TW3
TW4
ต่ำกว่า 11 ซม.
9 ซม. ขึ้นไป
ต่ำกว่า 9 ซม.
0.5 กก.
0.5 กก.
ต่ำกว่า 0.5 กก.
ต่ำกว่า 0.3 กก.
10-20 ซม.
10-25 ซม.
สูงสุด
25 ซม.
-
-
1
2
1 หรือ 2
1 หรือ 2


โรคที่สำคัญของกวาง
โรคกวางที่สำคัญที่มีผลเสียต่อทางเศรษฐกิจจากที่เคยบันทึกในประเทศที่เลี้ยงกวางเป็นฟาร์มขนาดใหญ่มี 2 โรคได้แก่


1. วัณโรคปอด
โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถติดต่อถึงคนได้ แพร่ระบาดไปถึงกวางตัวอื่น ๆ ได้ง่ายก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในนิวซีแลนด์ มาตรการควบคุม ก็คือ ทดสอบตรวจโรคกวางในฝูงเป็นประจำโดยทางรัฐจะสำรวจกำหนดเขตฟาร์มต่าง ๆ ในประเทศว่าเป็นเขตปลอดวัณโรคหรือไม่ หรือเขตที่มีวัณโรคในอัตราส่วนที่ต่ำ โดยรัฐออกใบรับรองแต่ละฟาร์ม โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีการระบาดบ่อยมากในฟาร์มเลี้ยงกวาง



2. โรคแท้งติดต่อ
ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคไม่รุนแรงถึงขั้นตาย แต่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ โรคนี้จะแพร่เชื้อเร็วมาก ฟาร์มกวางที่ได้มาตรฐาน จะมีการกำหนดโปรแกมการป้องกันรักษาโรคไว้ ซึ่งลักษณะการทำโปรแกรมขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มแต่ละฟาร์ม ถึงแม้ว่าจะเลี้ยงกวางในลักษณะปล่อยเลี้ยงในทุ่งกว้างก็จะมีการต้อนเข้าคอกกักเพื่อนำมาตรวจสอบ ตรวจโรคเพื่อที่จะรักษาได้ทันท่วงที
สำหรับในประเทศไทยนั้นเท่าที่ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงกันมายังไม่มีรายงานเรื่องโรค แต่ก็ไม่อาจจะชะล่าใจได้ควรทำความสะอาดคอกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กวางปลอดจากโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะกวางทุกตัวไม่ต้องทำวัคซีน



พอเข้าฤดูฝนก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อโรยบริเวณคอกและไม่ควรให้คนภายนอกเข้าไปในคอกเป็นอันขาด ที่สำคัญจะไม่ให้กวางเข้าไปใกล้แพะแกะหรือวัวเป็นอันขาดเพราะสัตว์พวกนี้คือพาหะนำโรค
ขอยกตัวอย่างกรณีฟาร์มแห่งหนึ่งเป็นฟาร์มที่อยู่ติดแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วมขังในฟาร์มแล้วเกิดพยาธิในเลือดชนิด TRYPANOSOMIA ซึ่งปกติจะเป็นในวัวแต่ติดต่อมาถึงกวางได้เพราะมีแมลงชนิดหนึ่งไปดูดเลือด วัวและมาดูดเลือดกวางต่อจึงนำเชื้อมาสู่กวางด้วย ทำให้กวางติดพยาธิและตายไป เมื่อผ่าศพดูจึงพบว่าเป็นพยาธิ ในเหตุการณ์ตอนนั้นมีการตายไป 2 ตัว


การผสมพันธุ์กวาง


     การผสมพันธุ์ของกวางจะมีความสัมพันธ์กับการงอกของเขา ในตัวผู้เมื่อเขากวางแข็งตัวเต็มที่เป็นเวลาที่กวางตัวผู้พร้อมผสมพันธุ์ ซึ่งจะมีอายุประมาณ 2 ปี ถ้าไม่ทำการตัดเขา ก็จะเริ่มขวิดกันเองหรือขวิดต้นไม้เมื่อไม่มีคู่ต่อสู้ ดังนั้นในการเลี้ยงกวางจึงต้องทำการตัดเขาออกเพื่อความปลอดภัยของกวางในฝูง
          ปกติอัตราส่วนของการให้เพศคุมฝูงแม่พันธุ์โดยเฉลี่ย กวางแดงประมาณ 1:15 กวางรูซ่าประมาณ 1:20  ฤดูการผสมพันธุ์ของกวางจะผันแปรไปตามภูมิประเทศ ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ส่วนในเขตอบอุ่นฤดูผสมพันธุ์จะสั้นลงประมาณ 1.5 - 2 เดือน เช่นทางภาคใต้ของประเทศไทย ฤดูผสมพันธุ์กวางรูซ่าจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจริญของเขาด้วยกวางที่ผสมติดมีระยะเวลาตั้งท้อง 8 เดือน 10 วัน ส่วนมากตกลูกเพียงตัวเดียว อัตราการเกิดลูกแฝดมีน้อยมาก
การเก็บข้อมูลการผสมพันธุ์เป็นเรื่องจำเป็น ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถคัดเลือกกวางเพื่อไว้เป็นพ่อ/แม่พันธุ์ต่อไปได้ หรือกวางตัวใดที่สมควรคัดทิ้ง ในด้านการจัดการเกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลการผสมพันธุ์นั้นคือวิธีการทำเบอร์ ซึ่งผู้เลี้ยงควรพิจารณาวิธีการที่เหมาะต่อสภาพของฟาร์มและทุนทรัพย์การให้ลูกในฟาร์มกวาง
ฟาร์มกวางที่ประสบผลสำเร็จควรมีการให้ลูกที่หย่านม แล้วเฉลี่ยทั้งฟาร์มร้อยละ 85 โดยเฉลี่ยของทั้งฟาร์ม ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับศักยภาพของกวางในธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะในการเลี้ยงปกติความสูญเสียที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ประมาณร้อยละ 10 โดยความสูญเสียนี้จะเริ่มนับตั้งแต่เวลาผสมติดแล้วไปจนถึงช่วงหย่านมส่วนอีก ร้อยละ 5 ของการสูญเสียนั้นน่าจะถือเป็นเรื่องของฝีมือกล่าวคือถ้าฟาร์มใดไม่ได้มีการ สูญเสียหรือสูญเสียในอัตราส่วนที่ต่ำก็ถือว่าเป็นกำไร


แต่ถ้าเกินร้อยละ 5 นี้ผู้เลี้ยงกวางควรจะลองไปดูในรายละเอียด โดยเริ่มตั้งแต่น้ำหนักของกวางสาว และแม่กวางว่าอยู่ในภาวะที่เหมาะสมหรือไม่เพาะจุดนี้จะเชื่อมโยงไปถึงความ สามารถในการผสมติดเป็นหลักดังกล่าว ในจุดต่อไปนั้นควรดูที่การตายหลังการคลอด ซึ่งส่วนมากมักเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอดไปจนถึงอายุ 1 สัปดาห์ และอีกจุดหนึ่งก็คือตั้งแต่อายุ 1 สัปดาห์ไปจนอายุหย่านมเลยทีเดียว
จากประสบการณ์ฟาร์มกวางในต่างประเทศนั้นส่วนใหญ่ การสูญเสียจะเกิดขึ้นจากช่วงแรกคลอดจนถึง 1 สัปดาห์ (neonatal) โดยถ้าหากน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 3 กก. นั้นโอกาสที่จะมีชีวิตรอดภายใน 48 ชั่วโมงนั้นนับว่าต่ำมากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกวางคลอดในช่วงฤดูร้อนก็แทบจะทำให้เปอร์เซ็นต์การ เลี้ยงรอดเท่ากับศูนย์
แต่หากลูกวางมีชีวิตรอดพ้นช่วง 2 - 3 สัปดาห์แรกไปได้แล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตรอดไปจนระยะหย่านมก็เป็นไปได้สูงมาก
จากการผ่าซากของลูกวางที่ตายระหว่างแรกคลอดจนถึง อายุ 2 - 3 สัปดาห์นั้น ส่วนใหญ่พบลักษณะของการได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือจะเรียกว่าอดอาหารเลยก็ว่า ได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสืบเนื่องมาจากการมีน้ำหนักแรกคลอดค่อนข้างต่ำ คือต่ำกว่า 3 กก. นั้นเองจึงทำให้มีอาหารสะสมไม่พอต่อการใช้ และควบคู่กันไปนั้นก็คือความอ่อนแอทำให้ไม่สามารถช่วยตัวเองในการหาดูดน้ำนม จากแม่ประกอบกับแม่กวางเองก็มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ทำน้ำหนักเมื่ออายุแรกผสมพันธุ์ไม่ถึง 30 กก. จึงเป็นสาเหตุร่วมกันทำให้ต้องสูญเสียลูกกวางไปในที่สุดได้โดยง่าย เมื่อลองพิจารณาสาเหตุทั้งหมดแล้วก็สามารถสรุปได้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่นั้นก็ เนื่องมาจากอาหารไม่เพียงพอ 


ในส่วนของกวางสาวนั้นจุดสำคัญ คือจะทำอย่างไรให้กวางสาวมีน้ำหนักสูงพอเมื่อถึงระยะผสมพันธุ์ (เมื่ออายุไม่เกิน 10 เดือน) หรือมีน้ำหนักถึง 30 กิโลกรัมภายในอายุไม่เกิน 16 เดือน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของน้ำหนักโตเต็มที่ ทั้งนี้เนื่องจากน้ำหนักของกวางสาวในระยะแรกผสมพันธุ์นั้นมีความสัมพันธุ์ ต่ออัตราการผสมติดค่อนข้างสูง กล่าวคือ ถ้ากวางสาวมีน้ำหนักตัวสูงกว่า 30 กิโลกรัม ก็จะผสมติดง่ายคลอดลูกเร็ว และให้ลูกที่มีสุขภาพแข็งแรงกว่ากวางสาวที่มีน้ำหนักตัวน้อย
สำหรับตัวผู้นั้นอาจกล่าวได้ว่ามีปัญหาน้อยกว่ากวาง ตัวเมียมาก ทั้งนี้เพราะตามธรรมชาติของมันนั้นในช่วงฤดูร้อนกวางตัวผู้จะพยายามกินอาหาร ให้มากเพื่อจะได้สะสมเป็นไขมัน สร้างความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นแก่ร่างกายเพื่อความพร้อมในฤดูผสมพันธุ์ (rut) กวางตัวผู้ที่มีอายุมากและน้ำหนักตัวมากแล้วนั้นจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่ากับ กวางตัวผู้ที่อายุได้เพียง 2 - 3 ปี ซึ่งเป็นอายุที่กำลังเริ่มผสมพันธุ์โดยอาจจะมีน้ำหนักลดลงถึง 15 กก. ในเวลาอันรวดเร็วได้ เหตุการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เจ้าของฟาร์มกวางควรทำนั่นก็คือการพยายามประคองไม่ให้กวาง สูญเสียน้ำหนักไปกว่านี้ ซึ่งนั้นก็หมายถึงว่าจะต้องพยายามให้กินอาหารให้มากและสมบูรณ์ที่สุดก่อนถึง ฤดูผสมพันธุ์ และเมื่อผ่านพ้นฤดูผสมพันธุ์ไปแล้วก็ต้องให้อาหารอย่างสมบูรณ์ที่สุดต่อไป ด้วยเช่นกัน
กวางตัวผู้นั้นหลังฤดูผสมพันธุ์จะกินเก่งเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว จึงขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มว่าจะเข้าใจความต้องการของกวางหรือไม่เท่านั้นเอง และในส่วนของการหย่านมนั้นควรหย่านมลูกกวางที่น้ำหนัก 15 - 18 กก. จะดีที่สุดและควรหย่านมก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ถ้าเป็นไปได้
อาหารแปลงหญ้าและน้ำสำหรับเลี้ยงกวาง
     ความสูญเสียของฟาร์มกวางอันเนื่องมาจากโรคนั้น ไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนัก อย่างไรก็ตามหากมีการทำฟาร์มกวางเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่าที่เห็น ๆ กันอยู่ทุกวันนี้และเมื่อสัตว์เข้ามาอยู่ด้วยกันจำนวนมาก ๆ และเป็นเวลาเนิ่นนานหลายชั่วอายุก็อาจมีความอ่อนแอปรากฎขึ้นทำให้เป็นโรค โน้นโรคนี้ต่อไปก็ได้ ความสูญเสียที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นที่นิวคาลิโดเนีย ออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์ ก็ตามนั้นมักมีสาเหตุมาจากการจัดการ เช่น การให้ลูกเพียง 50 % การตื่นตกใจวิ่งชนเสาหรือรั้วคอกคอหักตาย และลูกกวางอ่อนแอเพราะมีนมกินน้อยกว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเล็ก ๆ ของเหตุการณ์เหล่านี้ถ้าจะสืบสาวกันจริง ๆ แล้วก็จะเป็นเรื่องมาจากการให้อาหารกวางต่ำกว่าศักยภาพของตัวมันและการ จัดการที่ไม่เข้าใจอุปนิสัยใจคอของสัตว์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือขาดความเป็นสัตวบาลมากกว่าเหตุผลอื่นนั่นเอง




หากต้องการที่จะลดการสูญเสียดังกล่าว ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่การจัดหาพืชอาหารโดยควรเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกหญ้า หรือพืชอาหารสัตว์สำหรับตัดมาให้กวางกินทุกวันไว้ให้พร้อมด้วย ซึ่งตามปกติกวางต้องการกินหญ้าสดประมาณตัวละ 8 - 10 กก./วัน และพื้นที่ 1 ไร่ น่าจะผลิตหญ้าได้ประมาณ 4,000 - 5,000 กก. โดยเฉลี่ยทั้งนี้ต้องมาการให้น้ำให้ปุ๋ยบำรุงตามสมควรตลอดปี
ส่วนอาหารข้น นั้นขอแนะนำว่าไม่จำเป็น ยกเว้นในช่วงที่ร่างกายของกวางต้องการการฟื้นฟู เช่นช่วงหลังคลอด ช่วงหลังฤดูผสมพันธุ์ในกวางพ่อพันธุ์ เป็นต้น โดยอาหารข้นจะใช้อาหารโคนมซึ่งมีโปรตีน 12 - 15 % ก็ได้ และให้กินในอัตรา 1 - 1.5 กก./ตัว/วัน เป็นหลัก
สำหรับน้ำดื่ม น้ำควรเปลี่ยนถ่ายทำความสะอาดทุกวันจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้เพราะน้ำจะสะอาดไม่มีสิ่งสกปรกเจือปนอันเป็นบ่อเกิดของโรคพยาธิที่จะติดตามมา


 
สำหรับการเลี้ยงลูกกวางให้แข็งแรง ควรจะได้กินนมอย่างน้อยวันละ 150 กรัม อาจใช้นมแพะนำมาเลี้ยงลูกกวางที่ได้รับนมไม่เพียงพอ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในส่วนของนมผงลงไปได้มากทีเดียว แต่หากน้ำนมแพะไม่เพียงพอก็จะให้กินนมผงโดยผสมกับน้ำให้ลูกกวางกินประมาณ 3 - 4 เดือน
ในเล้าอนุบาลนี้เราควรจะเลี้ยงลูกกวางที่มีอายุไร่เลี่ยกันไว้รวมกันแยกออกมาต่างหากจากกวางโต ให้ลูกกวางอยู่ที่เล้าอนุบาลจนหย่านมเมื่ออายุประมาณ 7 - 8 เดือน ขณะนั้นกวางควรมีน้ำหนัก 15 - 18 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อยจึงให้เข้าร่วมฝูงกับกวางโต
อย่างไรก็ตามหลักของการคำนวณพืชอาหารสำหรับกวางมีดังนี้
ก. ลูกกวางอายุต่ำกว่า 6 เดือน ต้องการ 1.1 กก.สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
ข. กวางเพศผู้อายุ 18 เดือน ต้องการ 1.5 กก. สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
ค. กวางเพศผู้เต็มวัย ต้องการ 1.7 กก. สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
ง. กวางเพศเมียเต็มวัย ต้องการ 1.0 กก. สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
จ. แม่กวางเลี้ยงลูกอ่อน ต้องการ 1.4 กก. สิ่งแห้ง/ตัว/วัน
โดยหญ้าและพืชอาหารสัตว์ทั่วไปมีสิ่งแห้ง 20 - 25 % ของน้ำหนักสด ส่วนชนิดของหญ้านั้น ฟาร์มกวางของสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนนั้น ได้กล่าวไว้ว่า กวางชอบกินหญ้าเกือบทุกชนิดที่ผลิตได้ในวิทยาเขต
สำหรับรายชื่อหญ้า และวัชพืชที่กวางกินได้จากการรวบรวมมีดังนี้


1. หนามกระสุน Hhaki weed 2. ถั่วลิสงนา Alyce cloiver 3. ผักขมหนาม Spiny amaranth
4. ครอบจักรวาล Hirtum 5. หญ้ารังนก Arm grass, millet 6. หญ้าปากควาย Growfoot grass
7. หญ้าขนเล็ก Para gass 8. หญ้าแพรก Bermuda grass 9. หญ้าแห้วหมู Purple nutsedge
10. หญ้าไม้กวาด 11. ไมยราบเลื้อย Senisitive vine 12. ไมยราบ Shrubby sensitive plant
13. หญ้าเนเปียร์ Napier grass 14. หญ้าใต้ใบ Piss weed 15. หญ้าละออง Little iron weed
16. หญ้านกเขา Little iron weed 17. กระเม็ง Yerba-de-tazo 18. ไมยราบไร้หนาม Sensitive plant
19. ไมยราบยักษ์ Sensitive plant 20. กระทึบยอด Sensitive sorrel 21. ฮามาต้า Hamata stylo
22. ใบต้นปีป 23. ใบต้นมะม่วง Mango tree 24. ใบต้นกระถิน Leucena leaf
25. ข้าวโพดฝักอ่อน Bady corn 26. เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน Bady corn Leaf 27. ผักบุ้ง Kangkong
28. หญ้าข้าวฝ่าง Columbus grass 29. ใบต้นขนุน Jack fruit

Saturday, June 8, 2013

ระบบการทำฟาร์มกวาง
สำหรับผู้ที่สนใจหรือมีโครงการจะเลี้ยงกวาง ควรจะเตรียมปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ให้พร้อมก่อน ได้แก่
1. ปัจจัยด้านความรู้ หมายถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลกวาง โดยที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย มีการจัดครอสฝึกอบรมการเลี้ยงกวางปีละ 1 - 2รุ่น การอบรมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5 วัน ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,500 บาท
2. ปัจจัยด้านพื้นที่ กวางเป็นสัตว์อยู่ง่ายกินง่าย สามารถเลี้ยงได้ทุกแห่งหนในประเทศไทยขอเพียงอยู่ในพื้นที่ไม่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมก็พอ ขนาดของพื้นที่ก็ไม่จำเป็นต้องกว้างขวางอย่างของวัว พื้นที่แค่ 3 - 5 ไร่ สามารถเลี้ยงกวางได้เป็นร้อยตัว สมมุติว่าเรามีพื้นที่ 5 ไร่ แบ่งพื้นที่ไว้ประมาณ 3 ไร่ เพื่อผลิตหญ้าอีก 2 ไร่ ทำเป็นฟาร์มกวางได้ประมาณ 100 - 150 ตัว
3. ปัจจัยด้านอาหารและน้ำ อาหารที่กวางกินนอกจากหญ้าก็มีไม้ใบเขียวทั้งหลาย ยอดไม้ กิ่งไม้ กวางกินได้หมด ที่สำคัญคือน้ำต้องมีน้ำสำหรับใช้ในการผลิตหญ้า ผลิตพืชอาหารให้กวางกิน
4. ปัจจัยด้านเงินทุน ด้วยความที่กวางในประเทศไทยยังมีจำนวนน้อยอยู่ ราคากวางตอนนี้จึงเทียบเท่ากับราคากวางนำเข้าคือประมาณ 25,000 บาท/ตัว เข้าใจว่าในอนาคตเมื่อกวางในประเทศมีจำนวนมากขึ้นราคาคงจะลดลงกวางที่ทาง สหกรณ์นำเข้ามาก็มีเพียง 1 สายพันธุ์ คือ รูซ่าจากนิวคาลิโดเนีย โดยติดต่อกับสหกรณ์กวางของเขาโดยตรง โดยเราวางสเปคกวางไปแล้ว นักวิชาการของซีราดที่ประจำอยู่ที่นั่นจะช่วยดูแลจัดหาให้ตามสเปคเรา แต่มีสมาชิกของสหกรณ์รายหนึ่งไปนำกวางเข้ามาจากเวียดนาม จัดการเองโดยที่ทางสหกรณ์ไม่ได้เกี่ยวข้องคือกวางทางเวียดนาม ทางเวียดนามเองก็มีกวางสายพันธุ์เหมือนของเราแต่ที่เขามีคือ กวางดาวเวียดนาม นอกนั้นจะคล้าย ๆ กับของเรา
5. ปัจจัยด้านบุคลากร คน ดูแลฟาร์มต้องสามารถอยู่ที่ฟาร์มได้ 24 ชั่วโมง เพื่อกันกวางหายเมื่อกวางหลุดออกไปแล้วมักไม่สามารถตามคืนได้และที่สำคัญคือ ต้องระวังไม่ให้สุนัขเข้ามารบกวนกวางเพราะมันชอบไล่กัดกวางโดยเฉพาะลูกกวาง
ในการจัดการฟาร์มนั้นก็มี 2 สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่
1. โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง มีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ
รั้วกวาง เป็นรั้วที่ออกแบบมาเป็นพิเศษมีลักษณะดังนี้
1.1 ไม่เป็นสนิม มีอายุใช้งาน 20 ปี
1.2มีความยืดหยุ่นสูง (กระเด้งได้)
1.3 สูงประมาณ 2 เมตร รั้วเราใช้ล้อมกวางทำเป็นแปลงให้มันอยู่ ไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนแต่ควรมีร่มให้มันบ้าง วัสดุที่ใช้ทำรั้วทางสหกรณ์กวางได้ประสานงานกับทาง คุณสุรจิตเป็นผู้นำเข้าและบริการให้แก่สมาชิกสหกรณ์ลักษณะของรั่ว 1 ม้วนยาวประมาณ 100 เมตร สูง 5 เมตร ราคาประมาณ 17,500 บาท/ม้วน
สรุปแล้ว โรงเรือนไม่จำเป็นสำหรับกวาง ในส่วนอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างที่กินน้ำก็ใช้ที่รองส้วมต่อท่อเข้าไปเปิดน้ำใส่ไว้ให้มันกิน และถ้าหากจะเลี้ยงกวางเพื่อเป็นปศุสัตว์จริง ๆ นั้นจะต้องมีส่วนประกอบที่มีความจำเป็นอีกอย่างหนึ่งได้แก่ อาคารจัดการกวาง หรือโรงเรือนจัดการกวาง มีลักษณะเป็นโรงเรือนสูงประมาณ 2 - 2.5 เมตร ฝาผนังทึบ แบ่งเป็นห้อง ห้องเล็ก ๆ แล้วแต่จำนวนกวาง มีห้องที่จะต้อนกวางเข้าไปในซองหนีบกวาง ซองหนีบกวางจะสร้างให้พื้นมันเปิดได้เวลากวางถูกหนีบมันจะไม่มีที่ยันและจะทำอะไรไม่ได้ แค่นี้เราก็สามารถตัดเขา ติดเบอร์หู ฝังชิป ฯลฯ ได้อย่างปลอดภัยกว่าที่จะไม่มีซองหนีบ
2. การจัดการด้านสุขาภิบาล กวางเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายมาก เพราะมันดูแลตัวเองได้ อย่างเรื่องอาหารกวางกิน งานจะหนักบ้างก็ตอนเช้า กับบ่ายที่ต้องไปตัดหญ้าให้มันกินและคอยดูแลให้น้ำเท่านั้นเอง ส่วนงานหนักจริง ๆ จะมีแค่ปีละ 1 - 2 ครั้ง คือ การตัดเขาอ่อน แยกฝูง และติดเบอร์หู ในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บนั้นแทบไม่มีอะไรเลย มูลกวางก็ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติเพราะลักษณะ ของมูลกวางจะเป็นเม็ดคล้ายมูลแพะหรือกระต่าย คือแห้งและไม่มีกลิ่นเหม็น
การเลี้ยงดูกวางสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบดังนี้
การเลี้ยงดูกวางแบบปล่อยทุ่งกว้าง ในเกาะนิวคาลิโดเนีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์นั้นเนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวางการเลี้ยงกวางเป็นฟาร์มจึง ค่อนข้างจะเป็นแบบปล่อยทุ่งกว้าง กล่าวคือมีการกั้นพื้นที่ด้วยรั้งสูงประมาณ 1.80 เมตร ใช้ลวดชนิดยึดได้สูง (high tensile wire) ถักเป็นตาสี่เหลี่ยมประมาณ 12 ซม. มีเสาไม้สูง 1.8 เมตร ขนาดประมาณ 4 นิ้ว หรือที่เรียกทั่วไปว่าเสาหน้า 4 ฝังให้ห่างกันประมาณช่วงละ 8 เมตร โดยตลอดส่วนรั้งภายในนั้นจะมีความสูงประมาณ 2.20 เมตร ผังของฟาร์มจะประกอบด้วยรั้วล้อมรอบพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด เรียกว่า รั้วเขตนอก (boarder fence) เพื่อกั้นเขตและป้องกันศัตรูโดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัข และมักจะใช้รั้วลวดหนามเป็นสันที่ขึงติดกับพื้นดินเพื่อป้องกันสุนัขศัตรู อื่น ๆ เข้ามาทำร้ายกวาง
ส่วนภายในฟาร์มจะมีการกั้นรั้วแบ่งพื้นที่ออกเป็น แปลงย่อยหลาย ๆ แปลง เพื่อให้กวางอยู่อาศัยและกินหญ้าตลอดจนใบไม้เป็นอาหารได้ในแต่ละแปลง และเพื่อให้สามารถต้อนกวางไปอยู่ในแปลงอื่นที่มีอาหารมากกว่า โดยให้เวลาหญ้าและต้นไม้ในแปลงเก่าได้มีโอกาสแตกใบได้อีก จึงต้องมีการกั้นบริเวณกลางฟาร์มเป็นช่องคล้ายถนนยาวตลอดฟาร์มตั้งแต่ด้าน หน้าไปจนถึงด้านหลังสุดของฟาร์มเพื่อใช้เป็นช่องทางต้อนกวางเปลี่ยนสลับแปลง ได้โดยง่าย
สำหรับกวางที่ตั้งท้องและพร้อมจะคลอดนั้นจะต้อง จัดแปลงขนาดพอเหมาะไว้แปลงหนึ่งต่างหากโดยนอกจากจะมีหญ้าเป็นอาหารพอเพียง แล้วควรจะมีพุ่มไม้เตี้ย ๆ ไว้จำนวนหนึ่งด้วยเสมอ ทั้งนี้เพราะแม่กวางจะเข้าไปซุกอยู่ใต้พุ่มไม้หนาทึบและคลอดลูกเอง ลูกกวางที่คลอดออกมาใหม่จะนอนนิ่งใต้พุ่มไม้นี้โดยคอยดูดนมแม่ทุกวันจนครบ 1 - 2 สัปดาห์จึงสามารถลุกวิ่งเดินตามแม่ไปได้ ลูกกวางจะหย่านมที่อายุประมาณ 6 - 7 เดือน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหาร เมื่อหย่านมแล้วเจ้าของฟาร์มก็ต้องแยกไปรวมผูงตามขนาดอายุเดียวกันไว้ในแปลง ที่แยกออกไปต่างหากมิเช่นนั้นกวางที่ตัวโตกว่าจะทำร้ายถึงตายได้
อัตราส่วนของกวางตัวผู้ที่นิยมใช้มักจะใช้ 1 ต่อตัวเมีย 20 - 30 ตัว แต่ในบางกรณีหากตัวผู้มีความสามารถสูงก็อาจคุมตัวเมียได้ถึง 40 - 50 ตัว ซึ่งก็มีปัจจัยสำคัญน่าจะอยู่ที่อาหารและการบำรุงตัวผู้เป็นสำคัญ
การเลี้ยงดูกวางแบบขังคอกในพื้นที่จำกัด สำหรับรูปแบบของการเลี้ยงกวางในระบบฟาร์ม นอกเหนือจากการเลี้ยงในแปลงปล่อยพื้นที่กว้าง ๆ อย่างในประเทศนิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย, นิวคาลิโดเนีย แล้วก็มีรูปแบบการเลี้ยงอีกอย่างคือการเลี้ยงแบบขังคอก ซึ่งก็คือในการเลี้ยงตามสวนสัตว์ต่าง ๆ แต่ทว่าใช้พื้นที่น้อยกว่า กล่าวคือจะใช้พื้นที่เพียง 3 * 4 เมตร หรือ 5 * 8 เมตร ก็สามารถเลี้ยงกวางได้ 6 - 12 ตัว
อย่างที่ไต้หวันได้ทำการเลี้ยงอยู่ทุกวันนี้ จะกั้นคอกเป็นห้อง ๆ ซึ่งก็มีทั้งที่เป็นคอกแบบทึบและแบบโปร่ง คือคอกแบบทึบนั้นจะปิดทึบผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ส่วนด้านหน้าและด้านหลังจะมีช่องระบายอากาศให้ พร้อมกับเป็นช่องสำหรับใส่หญ้าและมีช่องประตูเข้าออกและพื้นคอกเทด้วยซีเมนต์ โดยมีอ่างน้ำใส่ไว้ให้กวางกินอยู่ในคอกด้วย
สำหรับคอกแบบโปร่งก็มีการกั้นเป็นห้อง ๆ เหมือนกับคอกแบบทึบ จะต่างกันเพียงว่าการกั้นแบ่งเป็นคอกนั้นใช้ลวดตาข่ายเป็นที่กั้น ก็เลยทำให้คอกโปร่งหรือเรียกว่าคอกแบบโปร่งและเช่นเดียวกันภายในคอกมีราง หญ้าและอ่างน้ำ หรือบางแห่งก็จัดวางไว้ที่ด้านหน้าของคอก นอกจากนั้นก็มีการเทพื้นคอกด้วยปูนซีเมนต์ ผู้ที่ได้ไปเห็นมาเล่าว่า ช่วยให้ง่ายต่อการทำความสะอาดคือ เพียงฉีดน้ำเข้าไปล้างอุจจาระและเศษอาหารที่ตกหล่นอยู่ในคอก ก็จะถูกชะล้างออกหมด

ลักษณะทั่วไปของกวาง
กวาง เป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง มีลักษณะของการระวังภัยสูงมากจึงมีอาการตื่นตัวและระมัดระวังภัยจนเป็นนิสัยอยู่ตลอดเวลา มีการหากินโดยอาจจะเป็นพวกที่ชอบหากินและอยู่เดี่ยว ๆ หรืออยู่เป็นกลุ่มเป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวบ้างเป็นบางครั้งก็มี ขนาดตัวของกวางจะมีตั้งแต่ตัวเล็กเท่า ๆ กับลูกแกะไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าม้า สามารถอยู่ได้ในภูมิอากาศเขตหนาว หรือเขตอากาศอบอุ่น ไปจนถึงเขตร้องชื้น
ทั้งนี้โดยแยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามภูมิอากาศที่อยู่อาศัยเช่น กวางแดง กวางวาปิติ และกวางดาว อยู่ในเขตภูมิอากาศอบอุ่น กวางเรนเดียร์ กวางมูซ อยู่ในเขตภูมิอากาศเขตหนาว และกวางม้า กวางรูซ่า เนื้อทราย อยู่ในภูมิอากาศร้อนชื้น เป็นต้น
ลักษณะพิเศษของกวาง เนื่องจากกวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผู้เป็นสัตว์ที่สามารถผลัดเปลี่ยนเขาได้ ทุกปี กล่าวคือเมื่อใกล้ถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีการสร้างเขาอ่อน (VELVET ANTLER) ซึ่งก็คือโครงสร้างของมวลคล้ายกระดูกอ่อนที่ยังมีเลือดไปหล่อเลี้ยงอยู่ตลอด เวลาได้ และนำเอาแร่ธาตุ ฮอร์โมน วิตามิน และโภชนะต่าง ๆ ขึ้นไปสู่เขาอ่อนนี้อยู่เรื่อย ๆ โดยมีหนังเต็มไปด้วยขนสั้นละเอียดและหนาแน่นมองดูคล้ายผ้ากำมะหยี่ห่อหุ้ม อยู่โดยตลอดเต็มตา
ดังนั้นชาวตะวันตกจึงเรียกเขาอ่อนชนิดนี้ว่า VELVET ANTLER หรือ VELVET คำเดียวซึ่งก็แปลว่าเขากำมะหยี่หรือเขาอ่อนนั่นเอง เขาอ่อนนี้เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งประมาณ 2 - 4 เดือนก็จะแปรสภาพไปเป็นเขาแข็งที่แท้จริงโดยมีขนาดกิ่งก้านสาขาใหญ่โตมาก น้อยตามอายุของกวางและภายในเขามีลักษณะคล้ายหินปูนสีขาวแข็งมากและ คล้ายกระดูก
ชาวตะวันตกจึงเรียกเขาชนิดนี้ว่า แอนท์เลอร์ (ANTLER) ซึ่งน่าจะแปลว่าเขาผลัดได้ซึ่งแตกต่างไปจากคำว่า HORN อันหมายถึงเขาที่มีลักษณะเป็นกระดูก ดังนั้นในทางวิทยาศาสตร์จึงได้จัดให้กวางเป็นสัตว์อยู่ในตระกูลเซอรวิเดอี (CERVIDAE) ซึ่งก็หมายถึงสัตว์ที่ผลัดเปลี่ยนเขาได้ทุกปีในเพศผู้นั่นเอง
การผสมพันธุ์ ในช่วง ต้นของฤดูผสมพันธุ์ซึ่งส่วนมากจะอยู่กลางฤดูฝนคือประมาณเดือนกรกฏาคมเป็นต้น ไปนั้น กวางที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะเริ่มงอกเขาอ่อน (VELVET ANTLER) ออกมาจากปุ่มส่วนหน้าสุดของกระโหลกศรีษะ (frontal bone procees) ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่าเบอร์ (Burrs) โดยงอกออกมามีรูปร่างเหมือนเขา แต่จะแตกต่างจากเขาก็โดยที่มีหนังหุ้มดังได้อธิบายไว้ข้างต้น ต่อมาเมื่อมันได้สลัดหนังหุ้มกำมะหยี่โดยการถูไถกับต้นไม้จนหนังหุ้มหลุด ออกไปหมดแล้ว ก็จะถือว่าเป็นชุดเขาผลัดได้ที่แท้จริง (ANTLER) เกิดขึ้น โดยระยะเวลาตั้งแต่แรกงอกมาจนถึงเวลานี้จะอยู่ระหว่าง 3 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับอายุสัตว์
หลังจากนั้นกวางตัวผู้เหล่านี้ก็จะไม่กินอาหารใด ๆ เลย และจะต่อสู้กันเองเพื่อความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว คุมฝูงตัวเมียผสมพันธุ์จนหมดฤดูผสมพันธุ์ไปในประมาณฤดูหนาว และโดยที่ระยะเวลาเป็นสัดของกวางตัวเมียมีเพียง 3 - 4 ชั่วโมงเท่านั้นกวางตัวผู้จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาจนกว่าจะผสม พันธุ์เสร็จจึงค่อยติดตามตัวอื่นในฝูงต่อไป
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกฎธรรมชาติที่สัตว์ตัวที่แข็งแรงกว่าเท่านั้นจะสามารถสืบพันธุ์และดำรงสืบสานต่อไปได้
กวางตัวเมียจะตั้งท้องประมาณ 8 เดือน และออกลูก 1 ตัวเป็นส่วนใหญ่ การออกลูก 2 ตัวนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกวางในเมืองร้อน แต่หากเป็นเมืองหนาวแล้ว มีโอกาสได้ลูก 2 ตัวสูงกว่า
การทำฟาร์มกวางอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 29 กุมภาพันธ์ 2535 "การนำสัตว์ป่ามาเพาะเลี้ยงเพื่อการศึกษาทางวิชาการ หรือถ้ามีการค้าหรือครอบครองจะต้องเป็นสัตว์ที่เกิดจาการเพาะเลี้ยง ซึ่งกฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 1 กำหนดสัตว์ที่จะเพาะเลี้ยง 4 ประเภท คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ กำหนดไว้ 6 ชนิด คือ กวางรูซ่า และกวางม้า กระจงเล็ก เก้ง ชะมดเช็ด เนื้อทราย และลิงกัง"
ดังนั้น วิธีการทำฟาร์มกวางอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก็คือ ในกรณีกวางม้าให้แจ้งขออนุญาตต่อกรมป่าไม้ ป่าไม้เขตหรือป่าไม้จังหวัด ประการสำคัญก็คือ การเลี้ยงกวางม้าจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เป็นกวางจากการเพาะเลี้ยงไม่ใช่กวางป่า สำหรับกวางรูซ่าซึ่งต้องนำเข้านั้น ควรแจ้งให้กรมป่าไม้ทราบข้อมูลการนำเข้าไว้เป็นหลักฐาน สำหรับหน่วยงานในการป่าไม้ที่จะติดต่อ คือ ฝ่ายเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กองอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยผู้จะดำเนินธุรกิจฟาร์มกวางต้องยื่นคำขออนุญาตเพาะ เลี้ยง
โดยในเขตกทม. ยื่นที่กองการอนุญาต กรมป่าไม้กระทรวงเกษตร ส่วนในต่างจังหวัดยื่นได้ที่ป่าไม้อำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยผู้ขอรับการเพาะเลี้ยงต้องเป็นเจ้าของกิจการเอง อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ไม่เป็นผู้ถูกศาลสั่งฟ้องล้มละลาย ไม่อยู่ในระหว่างพักใบอนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า และไม่เคยถูกถอนใบอนุญาตซึ่งออกตาม พรบ. ฉบับนี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคลจำเป็นต้องมีโครงการแสดงแผน และรายละเอียดการเพาะเลี้ยง จำนวนกวางที่จะเพาะเลี้ยง เครื่องมืออุปกรณ์วิธีการแผนการเพาะพันธุ์ และยังต้องมีคนงานอีกจำนวนหนึ่งซึ่งกฎหมายระบุไว้อย่างรัดกุมเพื่อให้แน่ใจ ว่ากวางที่จะนำมาเพาะเลี้ยงได้รับการดูและให้อยู่ในสภาพดี และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียง
นอกจากนี้ ผู้ทำการเพาะเลี้ยงที่จะทำเป็นการค้ากรมป่าไม้ก็จะออกใบอนุญาตเพาะเลี้ยง และใบอนุญาตให้ค้าได้ หากผู้ได้รับอนุญาตไม่ปฎิบัติตามหรือปฎิบัติไม่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกวาง รวมไปถึงได้ละเลยไม่จัดหามาเลี้ยงตามที่ได้ขออนุญาติภายใน 1 ปี หากเจ้าหน้าที่พบจะรายงานให้อธิบดีกรมป่าไม้ทราบ เพื่อให้มีคำสั่งระงับ และในกรณีที่เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบในฟาร์มเพาะพันธุ์
ผู้เป็นเจ้าของฟาร์มจะต้องอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร และจะต้องแสดงบัญชีชนิด จำนวนกวางที่เลี้ยง โดยกำหนดให้ยื่นครั้งแรกภายใน 30 วันหลังจากได้รับใบอนุญาต ส่วนในกรณีกวางในฟาร์มเพิ่มหรือลดลงจากบัญชีที่แจ้งไว้เบื้องต้นจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ 30 วันหลังจากได้รับใบอนุญาต
ส่วนในกรณีการสั่งซื้อพันธุ์มาจากต่างประเทศ จะต้องไม่ใช่ตระกูลกวางในเมืองไทย คือ กวางม้า และกวางดาว แต่กวางสั่งซื้อพันธุ์มาจากต่างประเทศเหล่านี้ได้ต้องได้จากการเพาะเลี้ยง อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายฉบับใดในประเทศที่มารองรับไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองการนำเข้าหรือขนส่งออก การตรวจสอบใบเคลื่อนย้าย ใบกำกับการฉีดวัคซีนหรือใบรับรองสุขภาพสัตว์รวมไปถึงการตรวจกักสัตว์เพื่อตรวยโรค ในกรณีการพิจารณาออกใบอนุญาตเพาะพันธุ์สัตว์ป่าได้นั้น
อธิบดีกรมป่าไม้เป็นผู้พิจารณา โดยจะคำนึงถึงความรู้ความสามารถ รวมไปถึงประสบการณ์ในการดำเนินการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า และฐานะการของผู้ขอรับอนุญาต ตลอดจนจะดูถึงความเหมาะสมของสถานที่ใช้เพาะพันธุ์ เมื่อยื่นขอใบอนุญาตแล้วจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไปตรวจสอบ พันธุ์กวางที่ได้ทำการเพาะพันธุ์ ภายในกำหนดระยะเวลา ซึ่งแล้วแต่กรณี ดังนี้
  • มีกวางอยู่ในครอบครองอยู่แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน หลังจากได้รับอนุญาต
  • ไม่มีกวางอยู่ในครอบครองแจ้งเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน และเมื่อมีพันธุ์กวางที่จะทำการเพาะพันธุ์จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาตรวจสอบ พร้อมทำเครื่องหมายประจำตัวกวางภายใน 7 วันทำการ
หลังจากดำเนินการเพาะเลี้ยงกวางไปแล้ว ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามดังนี้
1. แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยในฟาร์มที่เพาะเลี้ยง
2. ต้องทำการเพาะพันธุ์หรือเพาะเลี้ยงภายใน 1 ปี หลังจากที่ได้รับใบอนุญาต
3. ต้องมีนักวิชาการ สัตวแพทย์ หรือสัตวบาลประจำฟาร์มเพาะเลี้ยง
4. ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลสัตว์ป่า
ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535
1. ค่าใบอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าฉบับละ 1,000 บาท
2. ใบอนุญาตให้มีไว้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้จากการเพาะเลี้ยงฉบับละ 500 บาท
3. ใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้จากการเพาะพันธุ์ฉบับละ 1,000 บาท
4. ในอนุญาตค้าซากสัตว์ป่าคุ้มครองหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ฉบับละ 1,000 บาท
5. ใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้จากการเพาะพันธุ์ฉบับละ 500 บาท
6. ใบอนุญาตให้นำผ่านสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและซากสัตว์สงวนหรือซากสัตว์ป่าคุ้มครองฉบับละ 500 บาท
7. ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่เพื่อการค้าฉบับละ 100 บาท
8. ใบรับรองให้นำเข้า ส่งออกหรือให้นำผ่านสัตว์ป่าฉบับละ 500 บาท
9. ใบรับรองให้นำเข้า ส่งออกหรือให้นำผ่านสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าฉบับละ 500 บาท
10. ใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะฉบับละ 10,000 บาท
11. ใบแทนใบอนุญาตหรือใบรับรองฉบับละ 100 บาท
12. การต่ออายุใบอนุญาตฉบับละ 500 บาท
พันธุ์กวาง
สำหรับผู้จะทำธุรกิจฟาร์มกวางประเด็นที่ควรพิจารณาว่ากวางพันธุ์ใดควรจะเลี้ยงเป็นการค้าในประเทศไทยมี 5 ประเด็นคือ
1. ควรเป็นพันธุ์ที่เขาอ่อนขนาดใหญ่ เพราะเขาอ่อนจะเป็นรายได้หลักจากการเลี้ยงกวางในระยะแรก
2. ควรเป็นพันธุ์ที่มีขนาดตัวขนาดกลาง เพื่อสะดวกแก่การจัดการ และได้เนื้อมากพอสมควร ซึ่งรายได้จากเนื้อกวางผู้ประกอบธุรกิจนี้จะได้รับภายหลังจากเลี้ยงกวางไปได้ 4 - 5 ปี
3. ควรเป็นพันธุ์ที่อยู่ได้ทั้งพื้นที่ชื้นและแห้ง เติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย
4. ควรเป็นพันธุ์ต้านโรคติดต่อโดยเฉพาะวัณโรค โรคปากและเท้าเปื่อย และโรคโลหิตเป็นพิษ โรคจากเห็บและแมลงต่าง ๆ ซึ่งโรคเหล่านี้พบบ่อยในการเลี้ยงกวางในมาเลเซีย
5. โตเร็วและกินพืชได้หลายชนิด
ซึ่งเมื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ แล้วพันธุ์กวางที่น่าสนใจ คือ
1. พันธุ์กวางไทย หรือเรียกกันว่า กวางม้า กวางควาย หรือกวางป่า (Sambar Deer) สูงประมาณ 135 - 150 เซนติเมตร น้ำหนักตัวผู้ประมาณ 200 - 300 กิโลกรัม ขนาดกำลังพอเหมาะในการเลี้ยง ง่ายต่อการควบคุม และให้เนื้อปริมาณมากพอสมควร ให้น้ำหนักเขาอ่อนสดประมาณ 3 - 4 กิโลกรัม เป็นเขาอ่อนที่นิยมมากในตลาดเอเซีย อาศัยอยู่ได้ในที่ลุ่ม ปลัก หรือแห้ง ยังไม่มีรายงายการเป็นวัณโรคปอด ทนต่อเห็บและแมลง เป็นโรคปากและเท้าเปื่อย และมีรายงานเกี่ยวกับโรคโลหิตเป็นพิษน้อยมาก อย่างไรก็ตามปัญหาคือ ปัจจุบันปริมาณกวางไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้สนใจเลี้ยง
2. กวางชวา หรือกวางรูซ่า (Rusa Deer) กวางประเภทนี้มีน้ำหนักเขาอ่อนสดน้อยมากเพียง 1 กิโลกรัม และเป็นเขาอ่อนที่ยังไม่เป็นที่นิยมในตลาดเอเซีย เนื่องจากขนาดตัวเล็ก ตัวผู้สูงประมาณ 80 - 100 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 40 - 60 กิโลกรัมให้เนื้อน้อยประมาณ 35 กิโลกรัมต่อตัว อยู่ได้เฉพาะในพื้นที่แห้งและอากาศแห้ง พบว่าการเลี้ยงในมาเลเซียเป็นวัณโรคปอดบ่อย ๆ กวางรูซ่ามี 2 สายพันธุ์ คือ โมลัคกันรูซ่า (Moluccan Rusa) นิยมเลี้ยงในออสเตรเลีย และจาวานรูซ่า (Javan Rusa) มีขนาดใหญ่กว่าร้อยละ 25 นิยมเลี้ยงในนิวคาลิโดเนีย
3. กวางดาว หรือกวางทอง (Chital Deer) ให้น้ำหนักเขาอ่อนสด 2 - 3 กิโลกรัม อยู่ในที่ชื้นแห้งในประเทศไทยยังไม่มีรายงานวัณโรคปอด มีเลี้ยงในไทยมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 50 ปี กินพืชได้หลายชนิด มีลักษณะเชื่องมากกว่ากวางชนิดอื่น ๆ
4. กวางซิก้า หรือกวางจีน (Sika Deer) ให้น้ำหนักเขาอ่อนสด 2 - 3 กิโลกรัม เป็นเขาที่นิยมในตลาดเอเซียชนิดหนึ่ง ตัวผู้น้ำหนัก 60 - 80 กิโลกรัม สูง 1 เมตร มีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น และจีน ซึ่งมีอากาศแห้ง ยังไม่มีรายงานโรควัณโรคปอด และโรคปากและเท้าเปื่อย เกษตรกรทั่วไปสามารถเลี้ยงได้ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาติจากกรมป่าไม้ จึงเป็นกวางที่น่าสนใจอีกพันธุ์หนึ่ง

5. กวางแดง (Red Deer) ให้น้ำหนักเขาอ่อนสด 4 - 5.5 กิโลกรัม เป็นเขาที่นิยมในตลาดพอสมควร และเป็นกวางที่ให้เขาอ่อนที่ขนาดใหญ่ที่สุดเทียงกับกวางที่กล่าวมาแล้ว ตัวผู้น้ำหนักตัว 300 - 400 กิโลกรัม สูงประมาณ 150 - 160 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตหนาวอากาศแห้ง หลักฐานการเลี้ยงในเมืองไทยยังไม่ทราบแน่ชัด จึงยังไม่มีรายงานทราบเรื่องโรคต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม กวางแดงเป็นพันธุ์กวางที่เลี้ยงมากที่สุดในนิวซีแลนด์ และพบว่าป่วยเป็นวัณโรคบ่อย

Wednesday, June 5, 2013

ประวัติการเลี้ยงกวางในส่วนต่าง ๆ ของโลก
นิวซีแลนด์ เริ่มเลี้ยงกวางมาประมาณ 20 ปีแล้วแต่ทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเลี้ยงกวาง สามารถทำรายได้เข้าออกประเทศหลายหมื่นล้านบาท โดยเฉพาะการส่งออกเนื้อกวางไปจำหน่ายต่างประเทศ ปัจจุบันพัฒนาการเลี้ยงครบวงจรจากที่เริ่มจากการเลี้ยงเพื่อตัดเขา รัฐบาลให้การสนับสนุนทุกด้าน ออกฎหมายรับรองการทำธุรกิจฟาร์มกวางมีการเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เลี้ยงกวาง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งฟาร์มตลอดจนการหาตลาด รวมไปถึงการควบคุมดูแลคุณภาพของเนื้อกวางเพื่อการส่งออก ลักษณะการเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นแบบปล่อยเลี้ยงเป็นฝูงใหญ่ในทุ่งหญ้าเนื้อที่ หลายพันไร่ และบริเวณรอบ ๆ ฟาร์มทำรั้วตาข่ายล้อมรอบ โดยลวดตาข่ายจะมีความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ เวลาที่กวางกระโดชนจะไม่บาดเจ็บ มีการจัดการฟาร์มที่ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกสายพันธุ์กวาง การผสมพันธุ์ กวางลูกผสมมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วและต้านโรคได้ดี ปัจจุบันสายพันธุ์กวางในนิวซีแลนด์มีการพัฒนาสายพันธุ์กวางทั้งการผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน และมีความชำนาญมากในการผสมข้ามพันธุ์ (วัตถุประสงค์ของการผสมพันธุ์ก็เพื่อจะได้กวางที่เขาใหญ่ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็วหรือโตเร็ว น้ำหนักซากดี) นอกจากนี้ยังปราศจากโรคร้ายแรง เนื่องจากภูมิประเทศเป็นเกาะอยู่ไกลจากประเทศอื่น ในนิวซีแลนด์ มีการเลี้ยงกวางแดงมากที่สุด นอกจากนั้นเป็นกวางวาปิตี กวางซิก้า และกวางฟอลโล ปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงเพื่อเป็นการค้าประมาณ 500 ฟาร์ม มีจำนวนกวาง 1.5 แสนตัว เดิมรายได้จากผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของนิวซีแลนด์เรียงตามลำดับดังนี้ โคเนื้อ โคนม แกะ และผลิตภัณฑ์กวาง ปัจจุบันรายได้จากผลิตภัณฑ์กวางแซงขึ้นเป็นอันดับ 3 แทนแกะ
ออสเตรเลีย เริ่ม เลี้ยงกวางช่วงปี 2390 โดยนำเข้ากวางจากยุโรป และตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เคยกำหนดว่าเจ้านายหรือราชวงศ์เท่านั้น จึงมีสิทธิโดยถูกต้องตามกฎหมายที่จะมีกวางไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นจึงมีการเลี้ยงกวางในฟาร์มโดยเริ่มที่รัฐควีนส์แลนด์ อุตสาหกรรมการเลี้ยงกวางแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เลี้ยงกวางเมืองหนาว ได้แก่ กวางดาวยุโรป และกวางแดง ส่วนมากมักอยู่ตอนใต้ของประเทศในรัฐนิวเซาท์เวลส์และวิคทอเรีย เนื่องจากมีภูมิอากาศเหมาะสม อีกกลุ่มหนึ่ง คือผู้เลี้ยงกวางเมืองร้อน คือกวางโมลัคกันรูซ่า บริเวณรัฐควีนแลนด์ ปัจจุบันออสเตรเลียมีกวางเลี้ยงในฟาร์ม 42,670 ตัว โดยร้อยละ 60 เป็นกวางเมืองหนาว ผลผลิตหลักของกวางในออสเตรเลีย คือเนื้อกวาง ในขณะที่เขากวางอ่อน หาง หนัง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เป็นผลพลอยได้ ปัจจุบันออสเตรเลียนำกวางต่างชนิดมาผสมข้ามพันธุ์เพื่อปรับปรุงขนาดและเพิ่ม ผลผลิตเนื้อ ส่วนทางด้านการตลาดในออสเตรเลีย มุ่งเน้นเนื้อกวางเพื่อป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก หลังจากที่เคยพึ่งพิงการนำเข้าจากนิวซีแลนด์ มุ่งเน้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศที่มีความเชื่อถือในคุณภาพ ของเนื้อกวางต่างประเทศ
เกาะนิวเมีย ประเทศนิวคาลิโดเนีย (หมู่เกาะระหว่างออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) มีการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ทำธุรกิจครบวงจร คือมีโรงฆ่าและชำแหละซากกวาง ส่วนใหญ่ส่งเนื้อกวางไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนีและฝรั่งเศส ส่วนตลาดเนื้อกวางนอกยุโรป คือมาเลเซีย กวางที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นกวางรูซ่า ซึ่งนำเข้ามาจากเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อประมาณ 120 ปีก่อนในปัจจุบันประมาณกันว่า ในเกาะนิวเมียมีกวางป่าจำนวนกว่า 100,000 ตัว และกวางเลี้ยงอยู่ในฟาร์มต่าง ๆ อีกประมาณ 150,000 ตัว มีฟาร์มกวางกว่า 1,000 ฟาร์ม ต้นกำเนิดฟาร์มกวางในเกาะนิวเมีย เริ่มขึ้นในปี 2530 องค์การซีราดของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาวิจัย และชักชวนชาวนิวคาลิโดเนียทำธุรกิจฟาร์มกวาง ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนผู้ทีฟาร์มกวางหลายด้าน ทั้งการลงทุนและการตลาดผลิตภัณฑ์กวาง ในด้านการลงทุนรัฐบาลตั้งหน่วนงานให้สินเชื่อตลอดจนช่วยประสานกับทางการในการจัดหาที่ดินเพื่อทำฟาร์ม ผู้เลี้ยงได้เงินกู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขดี อัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะปลอดหนี้ระยะยาว ส่วนในด้านการตลาด รัฐบาลสนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจนกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการทำฟาร์ม ตั้งองค์การขึ้นมาทำการตลาดคือ OCEF ซึ่งมีโรงฆ่าและตัดแต่งเนื้อกวาง รับกวางจากเกษตรกรนำมาแปรสภาพไปเป็นเนื้อแล้วบรรจุหีบห่อเพื่อการส่งออก นอกจากนี้ องค์กรนี้ยังทำหน้าที่ด้านการตลาดแทนเกษตรกร ตั้งแต่การเจรจา จัดทำข้อตกลง ตลอดจนจัดส่ง และจัดการด้านบริหารการเงิน
จีนและไต้หวัน เลี้ยงกวางแดงและกวางเอล ซึ่งเป็นกวางเมืองหนาวเป็นส่วนใหญ่ แต่การเลี้ยงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ในจีนวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงกวางก็เพื่อตัดเขาอ่อนจำหน่ายเพียงอย่างเดียว การเลี้ยงจะเลี้ยงเป็นรุ่น ๆ แยกเพศ และจะเลี้ยงแบบแยกขังในกรง
เวียดนาม เลี้ยงกวางพันธุ์ฟอลเลน และซิก้า โดยเน้นการตัดเขา และแหล่งเลี้ยงอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ปัจจุบันมีการเลี้ยงเป็นการค้าประมาณ 1,000 ตัว อย่างไรก็ตามการเลี้ยงในประเทศยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
มาเลเซีย ตื่นตัวที่จะเลี้ยงกวางเป็นการค้าก่อนหน้าประเทศไทย 4 - 5 ปี นำเข้าพันธุ์จากนิวซีแลนด์ ปัจจุบันมีการเลี้ยงกวางประมาณ 2,000 - 3,000 ตัว นอกจากนี้กวางป่าในประเทศเพื่อนบ้านของไทย พม่ามีจำนวนกวางมากที่สุด
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 ระหว่างนั้นก็เริ่มติดต่อนำกวางเข้า กวางที่สหกรณ์นำเข้ามามีทั้งหมด 3 รุ่น รวมทั้งหมด 970 ตัว รุ่นสุดท้ายนำเข้าเมื่อปี 2540 กวางทุกรุ่นที่นำเข้ามามีอายุประมาณ 1 ปี สัดส่วนของตัวผู้ต่อตัวเมียคือ 1 ต่อ 20 เป็นหลักที่ตกลงกันไว้กับนิวคาลิโดเนีย กวางทั้งหมดเป็นกวางรูซ่า ทุกวันนี้กวางพวกนี้กระจายไปอยู่ฟาร์มต่าง ๆ ในกลุ่มของสมาชิกเช่น ระยอง ตาก พังงา ราชบุรี นครปฐม สระบุรี นครนายก กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ ปัจจุบันนี้มีสมาชิกอย่างเป็นทางการประมาณ 97 ราย ผู้เลี้ยงจริง ๆ ประมาณ 45 ราย จำนวนในแต่ละฟาร์มต่ำสุดประมาณ 20 ตัว สูงสุดประมาณ 500 ตัว ทุกวันนี้ก็มีการซื้อขายระหว่างสมาชิกกันเอง สำหรับผู้ที่สนใจจะเลี้ยงกวางจริง ๆ ก็ควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลกวาง โดยที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย มีการจัดครอสฝึกอบรมการเลี้ยงกวางปีละ 1 - 2 รุ่น ประมาณ 40 คน การอบรมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5 วัน ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,500 บาท นอกจากนี้ปัจจุบันกรมปศุสัตว์กำลังทดลองเลี้ยงกวางป่าอยู่ ความคืบหน้าจะมานำเสนอในโอกาสหน้า
Design by surachai